Preparation รู้-รับ-ปรับตัว สู้ภัยฝุ่น PM 2.5
ภาพจำลอง สภาวะอากาศปกติ (ซ้าย) และสภาวะอากาศที่มีฝุ่น PM 2.5 (ขวา)
ไม่น่าเชื่อว่า ในปีนี้ประเทศไทยจะมีคุณภาพอากาศแย่สูงที่สุดแตะอันดับที่ 6 ของโลก* สาเหตุส่วนหนึ่งคือฝุ่น PM 2.5 และเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วที่ฝุ่นจิ๋วละอองสีเทาชนิดนี้ที่มาเยือนประเทศไทยทุกปี ครอบคลุมท้องฟ้ารอบๆ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นี่คงเป็นสัญญาณเตือนว่า เร็วๆ นี้ คงจะต้อง เตรียมรับมือกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 กันอีกครั้ง
PM 2.5 กลับมาเยือน ทุกฤดูหนาว
เมื่อกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้กำหนดมาตรฐานฝุ่น 2.5 ในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยให้มีผลจนถึงพฤษภาคม 2566 หากเกินจากนี้ถือว่าเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และนี่คือวิกฤตการณ์มลพิษทางอากาศที่เราควรเฝ้าระวัง จริงๆ แล้ว ฝุ่น PM 2.5 พบได้ทั่วไปในอากาศ จะสังเกตได้ว่า ก่อนเข้าช่วงฤดูหนาวจะมีฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณที่พุ่งสูง นั่นเพราะเกิดการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า กระบวนการอุตสาหกรรม การก่อสร้างอาคารและการพัฒนาเส้นทางคมนาคมที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้อุณหภูมิที่พื้นดินจะเย็นกว่าชั้นบรรยากาศด้านบน และชั้นบรรยากาศมีลักษณะเป็นแนวผกผัน (Inversion Layer) เสมือนเป็นโดมครอบพื้นที่ไว้ ทำให้ฝุ่นละอองไม่สามารถลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศด้านบนได้ จึงสะสมจนกลายเป็นฝุ่นควันฟุ้งกระจายทั่วเมืองในที่สุดนั่นเอง
PM 2.5 ฝุ่นเล็กจิ๋ว แต่ส่งผลต่อสุขภาพมหาศาล
ด้วยลักษณะของฝุ่น PM2.5 ที่มีขนาดเล็กจิ๋ว แต่ผลกระทบไม่จิ๋วตามขนาดตัว เทียบได้กับ 1 ใน 25 ส่วนของ เส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ มีอณูเล็กถึงขนาดที่ว่าหากสูดหายใจเข้าไป ฝุ่นจิ๋วนี้สามารถทะลุเข้าไปได้ถึงชั้นปอด และแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆ ในระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอด โรคปอดอักเสบ โรคภูมิแพ้ และกระแสเลือดได้โดยตรง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวและมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังได้ เพราะหากสัมผัส สูดหายใจเอาฝุ่น PM 2.5 เป็นประจำ ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น หากมีอาการจาม น้ำมูกใส ไอ หายใจไม่สะดวก ตาแดง น้ำตาไหล มีผื่นคันตามร่างกาย ให้สังเกตตัวเองไว้ก่อนเลยว่าอาจได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ก็เป็นได้
ใครได้รับผลระทบจาก PM 2.5 เป็นอันดับแรก?
วัยเด็ก ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด เด็กเล็กปอดกำลังขยายและระบบการหายใจและภูมิคุ้มกันยังเติบโตไม่เต็มที่
ผู้สูงอายุ ภูมิคุ้มกันลดน้อยลงไปตามวัย รวมถึงผู้ป่วยทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และระบบสมอง
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หากมีอาการกำเริบหรือรุนแรงขึ้น ควรรีบพบแพทย์
คุณแม่ตั้งครรภ์ มีภาวะเหนื่อยง่าย เป็นภูมิแพ้หรือโรคปอด
เตรียมรับมือวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ระลอกใหม่
ฝุ่น PM 2.5 เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะอยู่ในอากาศที่เราหายใจในชีวิตประจำวัน และมีความเป็นไปได้ที่จะอยู่ร่วมกับเราไปอีกระยะหนึ่ง หลายๆ คนคงมีประสบการณ์การป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 คล้ายคลึงกัน ตั้งแต่ก้าวออกจากบ้าน ก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้และเลี่ยงการเปิดประตูหน้าต่างบ่อยครั้ง เพื่อลดปริมาณฝุ่นภายในบ้าน หันมาปลูกต้นไม้และใช้เครื่องฟอกอากาศเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อสร้างเกราะป้องกันสุขภาพและลดความเสี่ยงจากฝุ่น PM 2.5 หากเรายังต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางมลพิษทางอากาศแบบนี้ต่อไป คงต้องหาวิธีปรับตัวให้อยู่กับฝุ่น PM 2.5 ให้ได้ เพราะการมีสุขภาพที่แข็งแรง เป็นหนทางเดียวที่จะช่วยป้องกันความเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุด
*อ้างอิงจาก AirVisual Application สำรวจคุณภาพอากาศทั่วโลก
“The Selection” แพลตฟอร์มที่คัดสรรผลิตภัณฑ์และบริการจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ
ช้อปสินค้าเพิ่มน้ำนมและบำรุงร่างกายอื่นๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
ดูทั้งหมด
เฉพาะสมาชิก LINE The Selection รับส่วนลด 10% เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ Lavita, BREA, OWA และ Phymon
JOY RIDE บริการพาผู้สูงวัยไปหาหมอแทนครอบครัว
฿1,800.00
KIN ORIGIN REHAB CENTER โปรแกรมฝากดูแลผู้สูงอายุ
฿35,000.00
PLANTANIQ@ Moisturizing Shower Gel
฿359.00
PLANTANIQ@ Dishwashing Liquid
฿189.00
PATOM ORGANIC LIVING Lime & Lemongrass Cleansing Shower Gel Anti-Bacterial
฿390.00
PATOM ORGANIC LIVING Lime & Lemongrass Cleansing Shampoo Anti-Bacterial
฿390.00
TALON – Rebecca Lim’s by TALON รองเท้าสุขภาพ / รองเท้าสั่งตัดตามอาการ
฿3,490.00