หน้าที่สำคัญของจุลินทรีย์ “โพรไบโอติกส์” ในนมแม่

รู้หรือไม่ว่าในน้ำนมแม่ มีจุลินทรีย์มีประโยชน์

โพรไบโอติกส์อยู่ ซึ่งช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน  ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และสมองให้ดีขึ้นสำหรับลูกน้อยด้วย

 

 

โพรไบโอติกส์ในนมแม่ ดีกับลูกน้อยอย่างไร

เมื่อแรกลืมตาดูโลก ทารกทุกคนล้วนต้องการจุลินทรีย์เพื่อค่อยๆ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง โดยทารกที่คลอดธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์กลุ่มแรก      จากช่องคลอดของมารดา จากนั้นร่างกายเค้าก็จะได้รู้จักกับจุลินทรีย์ต่างๆ เพิ่มขึ้นจากการได้รับนมแม่ จนไปถึงอาหารเสริมตามวัยหลัง 6 เดือน นมเสริมตามวัยสำหรับเด็กอายุ 1 ปี รวมทั้งมื้ออาหารที่รับประทานเมื่อค่อยๆ เติบโตขึ้น ที่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการตามช่วงวัยที่เหมาะสม

 

 

บทบาทที่สำคัญของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (ร่วมกับพรีไบโอติกส์) จากนมแม่ต่อลูกน้อย

• การเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในระบบทางเดินอาหาร และเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยระบบทางเดินอาหารนั้นจัดว่าเป็นระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุด เพราะเป็นเสมือนด่านหน้าที่รับสารต่างๆ จากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย (ในรูปของอาหาร)

• การสร้างสภาวะให้ระบบทางเดินอาหารมีปริมาณของจุลินทรีย์ที่สมดุลในทารกจึงช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ ได้ ช่วยต่อต้านเชื้อก่อโรค บรรเทาอาการท้องผูก ท้องเสีย เพิ่มการสร้างสารที่ช่วยลดการอักเสบและสารช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

• มีการศึกษาที่พบว่าโพรไบโอติกส์ที่พบในนมแม่ อาจเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ในทารกอีกด้วย1,2,3

 

 

 

ตัวอย่างโพรไบโอติกส์ในนมแม่ที่พบว่ามีประโยชน์ต่อลูกน้อย ก็เช่นจุลินทรีย์ในกลุ่ม     แลคโตบาซิลลัสอย่าง LPR ซึ่งเป็นจุลินทรีย์สายพันธ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะมีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุด ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์ต่อระบบ      ภูมิคุ้มกันแล้ว ยังมีการศึกษาพบว่า LPR มีผลดีต่อระบบทางเดินหายใจของเด็ก      (ศึกษาในเด็กอายุ 1-7 ปี) โดยช่วยลดการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคหวัด น้ำมูกไหล ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กที่เริ่มเข้าโรงเรียน นอกจากนั้นยังมีการศึกษา  พบว่าจุลินทรีย์กลุ่มดังกล่าวอาจมีผลดีต่อการทำงานของสมองผ่านการมีส่วนร่วม          ในการสร้างสารสื่อประสาทในสมองอีกด้วย9,10

 

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของนมแม่ ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งของอาหารให้ลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวสร้างเกราะป้องกันให้เค้ามีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ลูกควรได้รับนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรได้รับนมแม่ต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)6 เพื่อให้ลูกน้อย  ยังคงได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์จากนมแม่อยู่ค่ะ

 

เอกสารอ้างอิง
1. Sepehri, S., Khafipour, E., & Azad, M. B. (2018). The Prebiotic and Probiotic Properties of Human Milk: Implications for Infant Immune Development and Pediatric Asthma. Frontiers in pediatrics, 6, 197. https://doi.org/10.3389/fped.2018.00197
2. Lara-Villoslada, F., Olivares, M., Sierra, S., Miguel Rodríguez, J., Boza, J., & Xaus, J. (2007). Beneficial effects of probiotic bacteria isolated from breast milk. British Journal of Nutrition, 98(S1), S96-S100. doi:10.1017/S0007114507832910
3. Sestito, S., D’Auria, E., Baldassarre, M. E., Salvatore, S., Tallarico, V., Stefanelli, E., Tarsitano, F., Concolino, D., & Pensabene, L. (2020). The Role of Prebiotics and Probiotics in Prevention of Allergic Diseases in Infants. Frontiers in pediatrics, 8, 583946. https://doi.org/10.3389/fped.2020.583946 Moossavi, S., Miliku, K.,
4. Hojsak, I., Snovak, N., Abdovic, S., Szajewska, H., Mišak, Z., & Kolaček, S. (2010). Lactobacillus GG in the prevention of gastrointestinal and respiratory tract infections in children who attend day care centers: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Clinical nutrition, 29 3, 312-6.
5. Strandwitz P. (2018). Neurotransmitter modulation by the gut microbiota. Brain research, 1693(Pt B), 128–133. https://doi.org/10.1016/j.brainres.2018.03.015
6. World Health Organization. (2021). infant and young child feeding. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/infant-and-young-child-feeding
7. Davani-Davari, D., Negahdaripour, M., Karimzadeh, I., Seifan, M., Mohkam, M., Masoumi, S. J., Berenjian, A., & Ghasemi, Y. (2019). Prebiotics: Definition, Types, Sources, Mechanisms, and Clinical Applications. Foods (Basel, Switzerland), 8(3), 92. https://doi.org/10.3390/foods8030092
8. The National Center for Complementary and Integrative Health. (2019). Probiotics: What You Need To Know. Retrieved from https://www.nccih.nih.gov/health/probiotics-what-you-need-to-know
9. Mayer EA, et al. Nat Rev Neurosci. 2011 Jul13;12(8): 453-66.
10. Van Oudenhove L, et al. Best Pract Res Clin Gastroenterol. 2004 Aug; 18(4):663-80.

 

 

 

 

 

 

ช้อปสินค้าเพิ่มน้ำนมและบำรุงร่างกายอื่นๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

ดูทั้งหมด

เฉพาะสมาชิก LINE The Selection รับส่วนลด 10% เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ Lavita, BREA, OWA และ Phymon

Pongyo Baby ถุงเก็บน้ำนมบอกอุณหภูมิ

฿189.00

VAGASO กาแฟชะมด

฿350.00

Nishikawa หมอนสุขภาพรุ่น DR.RECOMMENDED

฿3,300.00

Nishikawa หมอนเด็กรุ่น Oyasami Copilo

฿3,300.00

Nishikawa ที่นอนรุ่น AiR SI (Regular – Hard)

฿59,200.00

SENITY นวัตกรรมแปรงสีฟันที่ออกแบบพิเศษเพื่อผู้สูงอายุและผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพช่องปากเป็นพิเศษ

฿119.00

Socksy ถุงเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน รุ่น CF ดำล้วน/กันลื่น

฿250.00

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *