ต้อนรับเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ ฤดูที่ไม่ได้มีแค่ความยากลำบากในการเดินทางและการใช้ชีวิต แต่อากาศที่แปรปรวนมักมาพร้อมกับความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยต่าง ๆ มาดูกันว่า ในหน้ามรสุมเช่นนี้ จะมีโรคฮิตหน้าฝนอะไรบ้างที่ต้องเฝ้าระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการป่วยกันบ้าง ?

ป่วยเป็นโรคฮิตหน้าฝน มีอาการและป้องกันอย่างไรดี

1. โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะสำคัญ โดยยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เมื่อเชื้อฟักตัวในยุง จะสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกกัดต่อไป

  • อาการ
    • ระยะไข้ ใช้เวลา 2-7 วัน มีอาการไข้สูงตลอดเวลา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีอาการหน้าแดง และผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา
    • ระยะช็อกไข้เริ่มลดลง กินเวลา 24-48 ชั่วโมง มีอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย ในรายที่รุนแรงจะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อก และอาจทำให้เสียชีวิตได้
    • ระยะฟื้นตัว อาการต่าง ๆ จะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตเริ่มสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามลำตัวบ้างประปราย
  • การป้องกัน
    • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน และบริเวณรอบ ๆ
    • ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ขังทุก 7 วัน
    • ปิดฝาโอ่งหรือภาชนะอื่น ๆ ให้มิดชิด ป้องกันการวางไข่ และทำการกำจัดลูกน้ำให้หมด
    • ควรฉีดวัคซีนไข้เลือดออกป้องกันปีละครั้ง

 

2. โรคไข้หวัดใหญ่

นอกจากโรคที่มียุงเป็นพาหะแล้ว โรคไข้หวัดใหญ่ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่มากับฝนที่ต้องเฝ้าระวังเช่นกัน เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายอ่อนแอจากสภาพอากาศ อาจทำให้มีภูมิคุ้มกันลดลง จนทำให้รับเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้น

สำหรับอาการป่วยของโรคนี้ จะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว พร้อมกับอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น เหมือนเป็นไข้ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม Influenza Virus ในระบบทางเดินหายใจ

  • อาการ
    • ปวดศีรษะ
    • ไอแห้ง
    • มีน้ำมูก คัดจมูก
    • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    • มีไข้สูง
    • อ่อนเพลีย
    • ปวดเมื่อยตามตัว
  • การป้องกัน
    • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
    • หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด หรือใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
    • ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

 

3. โรคอาหารเป็นพิษ

โรคที่มากับน้ำฝนอีกหนึ่งโรคที่ควรเฝ้าระวังก็คือโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งนับเป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในช่วงที่อากาศชื้นอย่างช่วงฤดูฝน ซึ่งเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต ไม่ว่าจะเป็นเชื้ออย่างซาลโมเนลลา (Salmonella) ที่พบมากในเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ดิบ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม, เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia Coli) หรืออีโคไล (E. Coli) บางสายพันธ์ุ โดยพบมากในเนื้อสัตว์ดิบ หรือ คลอสติเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) เชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อย พบได้ในอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท แต่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น หน่อไม้ปี๊บ หน่อไม้ดอง ผักกาดดอง เนื้อสัตว์แปรรูป เป็นต้น

  • อาการ
    • รู้สึกพะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง หรืออาเจียนรุนแรงจนมีเลือดออกได้
    • มีอาการปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพัก ๆ เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้
    • ถ่ายเหลว ถ่ายมีมูก หรือเลือดปน
    • ไม่อยากอาหาร
    • มีอาการสูญเสียน้ำ เช่น รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ หมดเรี่ยวแรง ปากแห้ง ดวงตาไม่สดใส กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะน้อย เป็นต้น
    • มีไข้ ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • การป้องกัน
    • ดื่มน้ำสะอาด กินอาหารที่สะอาดและปรุงสุก
    • ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนกินอาหาร
    • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ค้างคืน
    • เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู และสัตว์อื่น ๆ
    • แยกอาหารดิบและสุกออกจากกัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค
    • ล้างมือให้สะอาดก่อนทำอาหาร หรือขนมทุกครั้ง
    • ใช้ช้อนกลางทุกครั้งที่กินอาหาร

 

4. โรคฉี่หนู

โรคฉี่หนู คือหนึ่งในโรคฮิตหน้าฝนที่ไม่ควรมองข้าม เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira ที่พบการระบาดได้มากในช่วงฤดูมรสุม และพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง โดยสัตว์ที่เป็นพาหะแพร่เชื้อหลัก ๆ คือ สัตว์ประเภทฟันแทะ เช่น หนู โดยจะเก็บเชื้อไปฟักตัวไว้ที่ไต และเมื่อฉี่ออกมาจะมีเชื้อพวกนี้ปะปน ทำให้เกิดการติดเชื้อผ่านเยื่อบุและผิวหนังมนุษย์ได้

  • อาการ
    • เยื่อบุตาบวมแดง
    • เจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
    • มีเลือดออกบริเวณต่างๆ เฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง
    • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง
    • อาการเหลือง
  • การป้องกัน
    • ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบูต ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า ทุกครั้งที่ลุยน้ำขัง
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร และไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืนที่ไม่ปิดภาชนะ
    • หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานาน ๆ
    • รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็ว หากมีการสัมผัสแหล่งน้ำขัง

 

5. โรคมือ เท้า ปาก

ปิดท้ายด้วยโรคมือ เท้า ปาก โรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มผู้ป่วยวัยเด็ก โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร Enterovirus 71 (EV71) Coxasackie Virus ทำให้มีอาการไข้ เกิดแผลในปาก และมีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ทำให้รู้สึกไม่สบายร่างกาย และน่ากังวลสำหรับผู้ปกครอง

  • อาการ
    • มีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียส
    • รู้สึกร่างกายอ่อนเพลีย เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร
    • มีแผลเปื่อยในปาก
    • ผื่นเป็นจุดแดงขึ้นที่มือ เท้า (อาจมีผื่นตามลำตัว แขนและขาร่วมด้วย)
  • การป้องกัน
    • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
    • สอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง ให้เด็ก ๆ ล้างมือให้สะอาด ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
    • ทำความสะอาดของเล่น ของใช้ที่สัมผัส
    • ดูแลความสะอาดของน้ำดื่มและอาหาร
    • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ
    • ไม่พาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค
    • ควรหยุดเรียน และพักรักษาให้หายป่วยเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ไปแพร่เชื้อยังคนอื่น ๆ

แนวทางรับมือและป้องกันการป่วยเป็นโรคฮิตหน้าฝน

รับมือกับโรคที่มากับฝน ด้วยการดูแลตัวเองเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถรับมือกับอากาศในหน้ามรสุมได้อย่างอุ่นใจกับ 5 วิธีป้องกันโรคในช่วงฤดูฝนเหล่านี้

  • ทำร่างกายให้แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 1-2 ลิตร
  • หาเกราะป้องกันในหน้าฝน พกพาร่ม เสื้อกันฝนอยู่เสมอ ในกรณีที่ต้องไปในพื้นที่น้ำท่วมขัง โดยที่ทราบล่วงหน้า แนะนำให้สวมใส่รองเท้าบูต แต่ในกรณีเหตุฉุกเฉิน เมื่อถึงบ้านให้รีบล้างเท้า เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางผิวหนัง เป็นต้น
  • ทำร่างกายให้อบอุ่น ทุกครั้งที่เปียกฝน เมื่อกลับถึงที่พักให้รีบทำความสะอาดร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที หลังจากนั้นให้หาวิธีทำให้ร่างกายอบอุ่น ห่มผ้า ใส่เสื้อแขนยาว ขายาว ลดความเสี่ยงความเจ็บป่วยได้
  • ดื่มน้ำสะอาด เลือกดื่มน้ำที่ผ่านเครื่องกรองและเครื่องดื่มที่ได้มาตรฐาน สามารถสังเกตได้จากเครื่องหมาย อย. มาตรฐาน GMP และมาตรฐาน HACCP ที่รับรองถึงความสะอาด ปลอดเชื้อ และสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • เลือกรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ เพราะในช่วงหน้าฝนมีสภาพอากาศที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ดังนั้น การหลีกเลี่ยงอาหารสด ดิบ คาว หรืออาหารที่ปรุงไม่สะอาด จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารได้

เตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรงในช่วงฤดูฝน เสริมภูมิคุ้มกันห่างไกลโรคที่มากับน้ำด้วยผลิตภัณฑ์ของใช้เพื่อสุขภาพจาก The Selection ครอบคลุมความต้องการของทุกช่วงวัย ดูรายละเอียดสินค้าเพื่อสุขภาพและส่วนลดพิเศษจาก The Selection ได้ที่ theselectionth

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. โรคติดเชื้อที่มากับฤดูฝน. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 จาก https://www.phyathai.com/th/article/3873-โรคติดเชื้อที่มากับฤด
  2. โรคที่มากับฝน. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/652
  3. อาหารเป็นพิษอันตรายที่มากับอาหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 จาก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1892
  4. โรคมือ เท้า ปาก รับมืออย่างไรดี? สังเกตอาการและวิธีป้องกัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 จาก https://www.sikarin.com/health/โรคมือ-เท้า-ปาก-รับมืออย

ช้อปสินค้าเพิ่มน้ำนมและบำรุงร่างกายอื่นๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

ดูทั้งหมด

เฉพาะสมาชิก LINE The Selection รับส่วนลด 10% เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ Lavita, BREA, OWA และ Phymon

แบรนด์ จินเซนโนไซด์ โปร

แบรนด์ ซุปไก่สกัด สูตรต้นตำรับ

Fong Fong (ฟอง ฟอง) น้ำเต้าหู้ผสมฟองเต้าหู้สด พาสเจอร์ไรส์ และฟองเต้าหู้แห้งและสด

฿35.00

Butterfly Organic – USDA Organic Milk /Yogurt / Plant Based Milk

฿700.00

De La Lita Healthy Snacks

฿30.00

EIYO (เอโยะ) ไลท์คุกกี้ผลไม้กลูเตนฟรี

Original price was: ฿325.00.Current price is: ฿300.00.

Plantae Complete Plant-Protein Dutch Chocolate

Original price was: ฿1,690.00.Current price is: ฿1,390.00.