Preparation : เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ที่แข็งแรง ทั้งกาย-ใจ

ผ่านไปแล้วอีกหนึ่งปี ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพลงไปตามกาลเวลา ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้ไม่ดีเหมือนก่อน

ปีใหม่นี้ คุณอาจจะตั้งปณิธานกับตัวเองว่าฉันจะต้องมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะกับวัยทำงาน ที่โฟกัสกับการทำงานจนไม่มีเวลา

ทำอย่างอื่น ชีวิตต้องติดสปีดตัวเองเพื่อจัดการหลายสิ่งให้ทัน ทั้งตอบอีเมลลูกค้า ประชุมงาน ตามโซเชียล

คิดสร้างสรรค์และแก้งานในเวลาเดียวกัน บวกกับยังต้องสะสางปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต

เจอแบบนี้หลายคนคงรู้สึกกดดัน เหนื่อยล้าและบั่นทอนใจ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพไม่น้อยเลย

     

The Selection ชวนคุณมาสำรวจร่างกายในเบื้องต้น

เพื่อให้คุณเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิม มาลองสังเกตว่า กายและใจของเรายังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่

เพราะการรู้จักร่างกายของตัวเอง เปรียบเสมือนการมีเข็มทิศที่จะช่วยให้เรารู้ถึงแนวทาง การดูแลสุขภาพที่ถูกต้องได้ดีที่สุด

 

 

สำรวจร่างกายทั้งกาย-ใจของตัวเองแล้ว อย่าลืมแบ่งปันข้อมูลให้กับคนที่เราห่วงใยกันด้วยนะ

แม้ว่าตามธรรมชาติแล้ว ร่างกายของเราจะมีกลไกในการปกป้องและรักษาตนเองจากการเจ็บป่วยได้ในเบื้องต้น

หากเครียดมากๆ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ นานวันเข้าก็จะเกิดความเจ็บป่วยตามมาได้

ดังนั้น การรักษาสมดุลของทั้งร่างกายและจิตใจให้ดี ด้วยการสังเกตสัญญาณสุขภาพของตัวเองในเบื้องต้น

น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยป้องกันการเจ็บป่วย ลดอัตราความเสี่ยงที่อาจเกิดโรคต่างๆ ทั้งช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้เซลล์

และอวัยวะภายในร่างกายมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกด้วย

 

*กำหนดโดย The National Heart, Lung and Blood Institute

**แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 โดย คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล

 เรียบเรียงข้อมูลจาก

  • บทความเรื่อง “อยาก(เริ่มต้น)ดูแลสุขภาพแล้วเห็นผล ต้องรู้จักร่างกายตัวเองก่อน” เว็บไซต์ รพ.พญาไท
  • บทความเรื่อง “ดื่มน้ำอย่างไรให้ถูกวิธี” เว็บไซต์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

 

 

Growing Together : หน้าที่สำคัญของ จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ในนมแม่

 
 
 

หน้าที่สำคัญของจุลินทรีย์ “โพรไบโอติกส์” ในนมแม่

รู้หรือไม่ว่าในน้ำนมแม่ มีจุลินทรีย์มีประโยชน์

โพรไบโอติกส์อยู่ ซึ่งช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน  ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และสมองให้ดีขึ้นสำหรับลูกน้อยด้วย

 

 

โพรไบโอติกส์ในนมแม่ ดีกับลูกน้อยอย่างไร

เมื่อแรกลืมตาดูโลก ทารกทุกคนล้วนต้องการจุลินทรีย์เพื่อค่อยๆ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง โดยทารกที่คลอดธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์กลุ่มแรก      จากช่องคลอดของมารดา จากนั้นร่างกายเค้าก็จะได้รู้จักกับจุลินทรีย์ต่างๆ เพิ่มขึ้นจากการได้รับนมแม่ จนไปถึงอาหารเสริมตามวัยหลัง 6 เดือน นมเสริมตามวัยสำหรับเด็กอายุ 1 ปี รวมทั้งมื้ออาหารที่รับประทานเมื่อค่อยๆ เติบโตขึ้น ที่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการตามช่วงวัยที่เหมาะสม

 

 

บทบาทที่สำคัญของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (ร่วมกับพรีไบโอติกส์) จากนมแม่ต่อลูกน้อย

• การเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในระบบทางเดินอาหาร และเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยระบบทางเดินอาหารนั้นจัดว่าเป็นระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุด เพราะเป็นเสมือนด่านหน้าที่รับสารต่างๆ จากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย (ในรูปของอาหาร)

• การสร้างสภาวะให้ระบบทางเดินอาหารมีปริมาณของจุลินทรีย์ที่สมดุลในทารกจึงช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ ได้ ช่วยต่อต้านเชื้อก่อโรค บรรเทาอาการท้องผูก ท้องเสีย เพิ่มการสร้างสารที่ช่วยลดการอักเสบและสารช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

• มีการศึกษาที่พบว่าโพรไบโอติกส์ที่พบในนมแม่ อาจเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ในทารกอีกด้วย1,2,3

 

 

 

ตัวอย่างโพรไบโอติกส์ในนมแม่ที่พบว่ามีประโยชน์ต่อลูกน้อย ก็เช่นจุลินทรีย์ในกลุ่ม     แลคโตบาซิลลัสอย่าง LPR ซึ่งเป็นจุลินทรีย์สายพันธ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะมีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุด ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์ต่อระบบ      ภูมิคุ้มกันแล้ว ยังมีการศึกษาพบว่า LPR มีผลดีต่อระบบทางเดินหายใจของเด็ก      (ศึกษาในเด็กอายุ 1-7 ปี) โดยช่วยลดการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคหวัด น้ำมูกไหล ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กที่เริ่มเข้าโรงเรียน นอกจากนั้นยังมีการศึกษา  พบว่าจุลินทรีย์กลุ่มดังกล่าวอาจมีผลดีต่อการทำงานของสมองผ่านการมีส่วนร่วม          ในการสร้างสารสื่อประสาทในสมองอีกด้วย9,10

 

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของนมแม่ ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งของอาหารให้ลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวสร้างเกราะป้องกันให้เค้ามีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ลูกควรได้รับนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรได้รับนมแม่ต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)6 เพื่อให้ลูกน้อย  ยังคงได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์จากนมแม่อยู่ค่ะ

 

เอกสารอ้างอิง
1. Sepehri, S., Khafipour, E., & Azad, M. B. (2018). The Prebiotic and Probiotic Properties of Human Milk: Implications for Infant Immune Development and Pediatric Asthma. Frontiers in pediatrics, 6, 197. https://doi.org/10.3389/fped.2018.00197
2. Lara-Villoslada, F., Olivares, M., Sierra, S., Miguel Rodríguez, J., Boza, J., & Xaus, J. (2007). Beneficial effects of probiotic bacteria isolated from breast milk. British Journal of Nutrition, 98(S1), S96-S100. doi:10.1017/S0007114507832910
3. Sestito, S., D’Auria, E., Baldassarre, M. E., Salvatore, S., Tallarico, V., Stefanelli, E., Tarsitano, F., Concolino, D., & Pensabene, L. (2020). The Role of Prebiotics and Probiotics in Prevention of Allergic Diseases in Infants. Frontiers in pediatrics, 8, 583946. https://doi.org/10.3389/fped.2020.583946 Moossavi, S., Miliku, K.,
4. Hojsak, I., Snovak, N., Abdovic, S., Szajewska, H., Mišak, Z., & Kolaček, S. (2010). Lactobacillus GG in the prevention of gastrointestinal and respiratory tract infections in children who attend day care centers: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Clinical nutrition, 29 3, 312-6.
5. Strandwitz P. (2018). Neurotransmitter modulation by the gut microbiota. Brain research, 1693(Pt B), 128–133. https://doi.org/10.1016/j.brainres.2018.03.015
6. World Health Organization. (2021). infant and young child feeding. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/infant-and-young-child-feeding
7. Davani-Davari, D., Negahdaripour, M., Karimzadeh, I., Seifan, M., Mohkam, M., Masoumi, S. J., Berenjian, A., & Ghasemi, Y. (2019). Prebiotics: Definition, Types, Sources, Mechanisms, and Clinical Applications. Foods (Basel, Switzerland), 8(3), 92. https://doi.org/10.3390/foods8030092
8. The National Center for Complementary and Integrative Health. (2019). Probiotics: What You Need To Know. Retrieved from https://www.nccih.nih.gov/health/probiotics-what-you-need-to-know
9. Mayer EA, et al. Nat Rev Neurosci. 2011 Jul13;12(8): 453-66.
10. Van Oudenhove L, et al. Best Pract Res Clin Gastroenterol. 2004 Aug; 18(4):663-80.

 

 

 

 

 

 

The Selection’s Choice : LET’S TALK มาคุยกันเถอะ

The Selection’s Choice:                มาคุยกันเถอะ
 
 
 
ตลอดปีที่ผ่านมาคนทำงานออฟฟิศอาจพบเจอปัญหาให้หงุดหงิด กวนใจ
ทั้งจากงานและสิ่งแวดล้อม รอบข้างอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของเรา ทั้งด้านบวกและด้านลบ
เกิดเป็นสภาวะทางอารมณ์ต่างๆ หรือเกิดความเครียด รู้สึกเหนื่อยล้า เบื่อหน่าย
หรือหมดพลังใจในการทำสิ่งต่างๆ ได้ เมื่อมีความไม่สบายใจเกิดขึ้น ทุกคนมีแนวทางในการจัดการ
ปัญหาแตกต่างกันไป แต่หากลองคุยกับตัวเองแล้วหาทางออกไม่เจอ การหาเพื่อนช่วยรับฟังปัญหา
และให้คำปรึกษา ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้ ความกังวลที่ติดค้างในใจผ่อนคลายลงได้เช่นกัน

 

หากพบว่าตัวเองหรือคนรอบข้าง มีอาการเหล่านี้ หรือมีหลายอาการร่วมกัน ควรได้รับคำแนะนำ และการรักษา

The Selection ขอแนะนำให้รู้จักกับ LET’S TALK ศูนย์จิตเวช โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน บริการให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางใจ

เปรียบเสมือนเป็นเพื่อนคอยพูดคุย พร้อมวางแผนการรักษาปัญหาทางสุขภาพจิต โดยทีมจิตแพทย์และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

Occupational Therapy ช่วยวิเคราะห์ & เติมเต็ม “ทักษะ” ที่หายไป

Occupational Therapy หรือ กิจกรรมบำบัด  จะช่วยประเมินความสามารถ ฟื้นฟูทักษะที่บกพร่อง และเสริมสร้างความสามารถที่จำเป็น เพื่อให้กลับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิมได้ดีที่สุดหรือดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเจ้าหน้าที่จะออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมเฉพาะรายบุคคล รูปแบบกิจกรรมอาจเป็นแบบเดี่ยว หรือกลุ่มขึ้นอยู่กับทักษะ    ที่หายไป โดยกลุ่มคนวัยทำงานที่มีความเครียด จะออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ ภายในศูนย์ฯ ยังมีการใช้ศิลปะบำบัด (Arts Therapy) หรือการใช้ดนตรีบำบัด (Music Therapy) สำหรับผู้ที่อาจไม่สะดวกใจที่จะอธิบายความรู้สึก  ผ่านการพูดคุย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะช่วยสื่อสารได้อีกทางหนึ่ง

 

อบอุ่น ปลอดภัย เพราะออกแบบมาด้วยความเข้าใจ

ในปัจจุบันการพบจิตแพทย์สามารถทำได้ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องเขินอาย การรักษาคล้ายการมาพบเพื่อน  ซึ่งจะช่วยคิดหาทางออกของอาการที่เป็นอยู่ การพูดคุย รับฟังปัญหาและความกังวลต่างๆ เป็นไปด้วยความปลอดภัย ภายใต้บรรยากาศที่อบอุ่น  มีห้องตรวจและห้องพักส่วนตัวที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายเหมือนอยู่บ้าน มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมบำบัด ฟื้นฟู สุขภาพใจ และมุมพักผ่อน รวมถึงการเฝ้าระวังผู้ป่วยวิกฤตอย่างอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงด้านต่างๆ อีกด้วย

 

 

The Selection ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้ทุกคนใช้ชีวิตเต็มไปด้วยพลังบวก เปิดใจให้กว้าง รักตัวเองให้เป็น เห็นคุณค่าตนเอง

และให้อภัยตัวเอง อย่าลืมแบ่งปันพลังใจให้แก่คนรอบข้าง เพื่อให้มีจิตใจที่แข็งแรง เข้มแข็ง

เพราะหากเรามีสติ รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อเจออุปสรรคก็พร้อมที่จะรับมือ แก้ไข และเติบโตไปด้วยกัน

 

 

Doctor Talk : ปีใหม่กับฉันคนใหม่ สร้างสุขภาพดีด้วยโปรแกรม All You Can Check

 
 
Doctor Talk: ปีใหม่กับฉันคนใหม่ สร้างสุขภาพดี ด้วยโปรแกรม All You Can Check 

 

 

โดย พญ.พรทิพย์ อยู่ในศิล

แพทย์ศูนย์ตรวจสุขภาพเฉพาะทาง ด้านโภชนาการและเวชศาสตร์ป้องกัน โรงพยาบาลพญาไท 3

 

ปีใหม่นี้ หลายๆ คนน่าจะตั้งเป้าหมายอะไรใหม่ๆ  ตั้งใจอยากให้ตัวเองเป็นคนใหม่ในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือ    การมีสุขภาพที่ดี หลายคนคิดว่าการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี น่าจะเป็นการสำรวจสุขภาพตัวเองที่ดีอยู่แล้ว แต่อาการหรือโรคที่เราอาจคาดไม่ถึง ไม่อาจพบได้ด้วยการตรวจในขั้นพื้นฐาน  หากเราไม่รู้ อาจจะมีความเสี่ยงที่ส่งผลรุนแรงในอนาคตก็เป็นได้

ไลฟ์สไตล์ สามารถบ่งบอกที่มาของโรคได้

ร่างกายที่เราใช้มาตลอดปี หากไม่ดูแลให้ดีก็จะสึกหรอไปตามกาลเวลา แต่ละคนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ ไม่เท่ากันตามรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น บางคนชอบกิน Fast Food  ชาบู หมูกระทะ เป็นประจำ, การเป็นคนไม่ชอบออกกำลังกาย  เพราะด้วยชีวิตการทำงานที่เร่งรีบ ไม่มีเวลาทำสิ่งอื่น หรือบางคนเป็นสายปาร์ตี้       สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ  รวมไปถึงการทำงานหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน แม้จะกินอาหารดีมีประโยชน์มากเพียงใด ถ้าร่างกายไม่ได้พักผ่อน     ก็มีสิทธิ์เป็นโรคร้ายได้เหมือนกัน

โรคอ้วน เบาหวาน ไขมัน ความดัน พนักงานออฟฟิศ เสี่ยงสุด!

ความเจ็บป่วยที่พนักงานออฟฟิศพบเจอบ่อย คือ โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเหล่านี้ คือ กลุ่มโรค Metabolic Syndrome คือ  ภาวะที่เกิดจากระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง น้ำหนักตัวเกิน น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งภาวะต่างๆ เหล่านี้ เมื่อเป็นนานๆ เข้าก็จะส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต        ตามมาได้

สร้างเป้าหมายการมีสุขภาพที่ดีเยี่ยม ด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

โรคร้ายมักไม่แสดงอาการในช่วงแรก จนกว่าจะเริ่มมีอาการรุนแรง พอถึงตอนนั้นก็อาจสายเกินแก้ การรู้เท่าทันสภาวะร่างกายของตัวเองจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรตระหนัก ดังนั้น การตรวจสุขภาพจึงเป็นการป้องกันและรู้ทันโรคหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเรา เรียกได้ว่า ป้องกันก่อน รักษาได้เร็วกว่า เพื่อสำรวจร่างกายว่าเราควรดูแล แก้ไข หรือรักษาโรคใดอย่างต่อเนื่องน่าจะเป็นการสร้างสุขภาพที่ดีได้อีกแนวทางหนึ่ง

 

 

 

ALL YOU CAN CHECK เครื่องมือที่จะช่วยให้คุณไปถึงทุกเป้าหมายสุขภาพดีที่คุณตั้งใจ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร 1772

 

 

เรียบเรียงข้อมูลจาก

การบรรยายความรู้กิจกรรม Doctor Talk: หัวข้อ ตรวจสุขภาพตามไลฟ์สไตล์ที่ชอบ

โดย พญ.พรทิพย์ อยู่ในศิล แพทย์ศูนย์ตรวจสุขภาพเฉพาะทาง ด้านโภชนาการและเวชศาสตร์ป้องกัน โรงพยาบาลพญาไท 3

 

 

We Are What We Eat : ชาร์จพลังรับปีใหม่ ด้วย Anti-aging Vitamins และวิธีกินที่ถูกต้อง

 
 
 
We Are WHAT          WE EAT :       
 
ชาร์จพลังรับปีใหม่ ด้วย Anti-aging Vitamins และวิธีกินที่ถูกต้อง ปลอดภัย
 

 

สารอาหารที่ดีมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิต้านทานร่างกาย The Selection ขอแนะนำสารอาหารชาร์จพลังรับปีใหม่ ด้วย Anti-aging Vitamins พร้อมแนะนำวิธีทานที่ถูกต้อง ปลอดภัย ใครที่อยากได้สารอาหารเน้นๆ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพ ต้องลอง 5 วิตามินนี้เลย!

 

   

Vitamin C ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน

วิตามินตัวแรกๆ ที่ถูกค้นพบว่าสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี (Melanin) ทำให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น  สร้างคอลลาเจน  ป้องกันการเกิดริ้วรอย  และการเสื่อมสภาพของผิว  สร้างภูมิต้านทาน ลดอาการโรคภูมิแพ้ กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว ป้องกันโรคที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับอนุมูลอิสระ (Oxidative stress) เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้

              

Vitamin E เพิ่มความแข็งแรงให้ผนังเซลล์

สารอาหารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงอานุภาพ มีคุณสมบัติละลายในไขมัน แต่ไม่ละลายในน้ำ ทำลายอนุมูลอิสระในส่วนที่เป็นไขมันในร่างกาย เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็น      ไขมัน แบ่งหน้าที่กับวิตามินซีซึ่งทำลายอนุมูลอิสระที่อยู่ในน้ำ วิตามินอีช่วยปกป้อง คอลลาเจน เพิ่มความแข็งแรงให้ผนังเซลล์ไม่ให้ถูกทำลาย ป้องกันความเสี่ยง       โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นโลหิตในสมองตีบ อัลไซเมอร์ และโรคมะเร็ง

Vitamin D มีดีมากกว่าการดูดซึมแคลเซียม

นักวิจัยยังค้นพบประโยชน์ของวิตามินดีนอกเหนือจากการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก  นั่นคือ ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม, มะเร็งรังไข่ในผู้หญิง,  โรคมะเร็ง-ต่อมลูกหมาก อีกทั้งยังกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว, ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า โดย 80-90% เกิดจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนัง หลังได้รับแสงแดด (UVB) และ    10-20% จากการรับประทานอาหาร

Coenzyme Q10  ด่านแรกช่วยปกป้องผิว

สารที่ช่วยเอนไซม์ทำงานให้ระบบร่างกายเป็นไปอย่างปกติ มักพบในอวัยวะที่ใช้พลังงานมาก อาทิ เซลล์หัวใจ เซลล์กล้ามเนื้อ ปกติร่างกายผลิตตามธรรมชาติ       แต่เมื่อเข้าสู่อายุ 30 ปีขึ้นไป จะมีปริมาณที่ลดลง การออกไปรับแสงแดดยามเช้า ช่วยเพิ่ม Q10 ที่ช่วยป้องกันรังสียูวี และชะลอการเกิดริ้วรอยของผิวได้อีกด้วย

Omega-3 ยาแก้อักเสบจากธรรมชาติ

หรือ กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 Fatty Acids) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ร่างกายของคนเราไม่สามารถจะสร้างขึ้นมาเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากการ      กินอาหาร ซึ่งอยู่ในน้ำมันปลา ซึ่งยับยั้งการสร้างสารก่อการอักเสบ (Inflammation)  ในร่างกาย ช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือดหัวใจ, และเซลล์สมอง และ         โรครูมาตอยด์ ช่วยลดความดันโลหิตสูง ป้องกันอัลไซเมอร์

Preparation : รู้-รับ-ปรับตัว สู้ภัยฝุ่น PM 2.5

Preparation  รู้-รับ-ปรับตัว สู้ภัยฝุ่น PM 2.5

 

                                                

ภาพจำลอง สภาวะอากาศปกติ (ซ้าย)  และสภาวะอากาศที่มีฝุ่น PM 2.5 (ขวา)

           ไม่น่าเชื่อว่า ในปีนี้ประเทศไทยจะมีคุณภาพอากาศแย่สูงที่สุดแตะอันดับที่ 6 ของโลก*  สาเหตุส่วนหนึ่งคือฝุ่น PM 2.5 และเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วที่ฝุ่นจิ๋วละอองสีเทาชนิดนี้ที่มาเยือนประเทศไทยทุกปี ครอบคลุมท้องฟ้ารอบๆ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นี่คงเป็นสัญญาณเตือนว่า เร็วๆ นี้ คงจะต้อง  เตรียมรับมือกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 กันอีกครั้ง

PM 2.5 กลับมาเยือน ทุกฤดูหนาว

เมื่อกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้กำหนดมาตรฐานฝุ่น 2.5 ในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยให้มีผลจนถึงพฤษภาคม 2566  หากเกินจากนี้ถือว่าเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และนี่คือวิกฤตการณ์มลพิษทางอากาศที่เราควรเฝ้าระวัง จริงๆ แล้ว ฝุ่น PM 2.5 พบได้ทั่วไปในอากาศ จะสังเกตได้ว่า ก่อนเข้าช่วงฤดูหนาวจะมีฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณที่พุ่งสูง นั่นเพราะเกิดการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า กระบวนการอุตสาหกรรม การก่อสร้างอาคารและการพัฒนาเส้นทางคมนาคมที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้อุณหภูมิที่พื้นดินจะเย็นกว่าชั้นบรรยากาศด้านบน และชั้นบรรยากาศมีลักษณะเป็นแนวผกผัน (Inversion Layer)  เสมือนเป็นโดมครอบพื้นที่ไว้ ทำให้ฝุ่นละอองไม่สามารถลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศด้านบนได้ จึงสะสมจนกลายเป็นฝุ่นควันฟุ้งกระจายทั่วเมืองในที่สุดนั่นเอง      

    

 

PM 2.5 ฝุ่นเล็กจิ๋ว แต่ส่งผลต่อสุขภาพมหาศาล

ด้วยลักษณะของฝุ่น PM2.5 ที่มีขนาดเล็กจิ๋ว แต่ผลกระทบไม่จิ๋วตามขนาดตัว เทียบได้กับ 1 ใน 25 ส่วนของ เส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ มีอณูเล็กถึงขนาดที่ว่าหากสูดหายใจเข้าไป ฝุ่นจิ๋วนี้สามารถทะลุเข้าไปได้ถึงชั้นปอด และแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆ ในระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอด โรคปอดอักเสบ โรคภูมิแพ้ และกระแสเลือดได้โดยตรง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวและมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังได้ เพราะหากสัมผัส สูดหายใจเอาฝุ่น PM 2.5 เป็นประจำ ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น หากมีอาการจาม น้ำมูกใส ไอ หายใจไม่สะดวก ตาแดง น้ำตาไหล มีผื่นคันตามร่างกาย ให้สังเกตตัวเองไว้ก่อนเลยว่าอาจได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ก็เป็นได้

 

ใครได้รับผลระทบจาก PM 2.5 เป็นอันดับแรก?

 

วัยเด็ก ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด เด็กเล็กปอดกำลังขยายและระบบการหายใจและภูมิคุ้มกันยังเติบโตไม่เต็มที่

 

 

 

ผู้สูงอายุ ภูมิคุ้มกันลดน้อยลงไปตามวัย รวมถึงผู้ป่วยทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และระบบสมอง

 

 

 

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หากมีอาการกำเริบหรือรุนแรงขึ้น ควรรีบพบแพทย์

 

 

 

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ มีภาวะเหนื่อยง่าย เป็นภูมิแพ้หรือโรคปอด

 

 

เตรียมรับมือวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ระลอกใหม่

ฝุ่น PM 2.5 เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะอยู่ในอากาศที่เราหายใจในชีวิตประจำวัน และมีความเป็นไปได้ที่จะอยู่ร่วมกับเราไปอีกระยะหนึ่ง หลายๆ คนคงมีประสบการณ์การป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 คล้ายคลึงกัน ตั้งแต่ก้าวออกจากบ้าน ก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้และเลี่ยงการเปิดประตูหน้าต่างบ่อยครั้ง เพื่อลดปริมาณฝุ่นภายในบ้าน หันมาปลูกต้นไม้และใช้เครื่องฟอกอากาศเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อสร้างเกราะป้องกันสุขภาพและลดความเสี่ยงจากฝุ่น PM 2.5 หากเรายังต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางมลพิษทางอากาศแบบนี้ต่อไป คงต้องหาวิธีปรับตัวให้อยู่กับฝุ่น PM 2.5 ให้ได้ เพราะการมีสุขภาพที่แข็งแรง เป็นหนทางเดียวที่จะช่วยป้องกันความเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุด

*อ้างอิงจาก AirVisual Application สำรวจคุณภาพอากาศทั่วโลก

Trend Update : ปรับเปลี่ยนท่า สร้างความฟิตให้ร่างกาย

Trend Update ปรับเปลี่ยนท่า สร้างความฟิตให้ร่างกาย
 
 
 
        หนุ่มสาวชาวออฟฟิศที่นั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ มักมีอาการปวดเมื่อตามร่างกาย อาการที่พบบ่อยคือ ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ทุกครั้งที่มีอาการปวดขึ้นบนร่างกาย เราควรหาสาเหตุว่าอาการปวดเมื่อยเกิดจากอะไร   หลายคนคิดว่า จัดวางท่าทางนั่ง นอน เดินอย่างถูกต้องแล้ว แต่ทำไมยังมีอาการปวดเมื่อยอยู่ นั่นเพราะการจัดวางท่าที่เหมาะสม อาจไม่ได้เป็นสาเหตุที่แท้จริงของความปวดเมื่อย บางคนอาจเป็นรุนแรงถึงขั้นปวดเรื้อรัง และส่งผลต่อสุขภาพ  ในระยะยาว ลองสังเกตดูว่า อาการปวดเมื่อยของคุณมีปัจจัยเหล่านี้เกี่ยวข้อง
ด้วยหรือไม่?            
                                                                                 
ปรับเปลี่ยนท่า ป้องกันอาการปวดเมื่อย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

โปรแกรม ALL YOU CAN FITS  โปรแกรมที่ช่วยให้คุณเรียนรู้ร่างกายตนเอง ตรวจประเมินโครงสร้างสรีระของร่างกายพร้อมหาต้นตอ สาเหตุและวิเคราะห์อาการปวดเมื่อยและความผิดปกติต่างๆ แบบเฉพาะบุคคล ช่วยปรับความสมดุลของกล้ามเนื้อ ช่วยปรับพฤติกรรม และไลฟ์สไตล์ เพื่อการสุขภาพที่ดีในระยะยาว โดยผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด

สนใจโปรแกรม ALL YOU CAN FITS สอบถามเพิ่มเติมได้ที่เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล โทร. 1772

 

 

 

 
 
    ข้อมูลโดย คุณมีน-ฐิติ ตังคะพิภพ
    นักกายภาพบำบัดชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลพญาไท 2     

Growing Together : LPR โพรไบโอติกที่มีผลวิจัยรองรับมากที่สุด เพื่อความแข็งแกร่งของเด็กยุค 5G

 

 

Growing Together

LPR โพรไบโอติกที่มีผลวิจัยรองรับมากที่สุดเพื่อความแข็งแกร่งของเด็กยุค 5G

ตรวจสอบข้อมูลโดย ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์

 

ยุคนี้แม่ต้องรู้จักโพรไบโอติกส์…จุลินทรีย์ดีที่ต้องมี

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้เป็นยุคของความแข็งแกร่ง เพราะด้วยสารพัดเชื้อโรคใหม่ๆที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้กระแสของการดูแลสุขภาพได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแม่ๆที่ต้องดูแลลูกและคนในครอบครัว      สิ่งหนึ่งที่กำลังอยู่ในกระแสความสนใจและเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วคือ การใช้โพรไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์ดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งจริงๆ แล้วในวงการแพทย์รู้จักจุลินทรีย์ดีเหล่านี้มานานแล้ว เพราะมีการศึกษาวิจัยมาอย่างยาวนาน  หลายสิบปี ในหลายสายพันธุ์ ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยปรับพื้นฐานความสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ความสามารถ ของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน มีส่วนช่วยในระบบขับถ่าย และยังมีส่วนช่วยเสริมการทำงานของสมอง ซึ่งประโยชน์เหล่านี้จะส่งผลให้ร่างกายแข็งแกร่ง  แต่สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่มเติมคือเรื่องของสายพันธุ์ เพราะมีโพรไบโอติกส์หลากหลายสายพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นต่างกัน สายพันธุ์ที่อยากจะหยิบยกมาเขียนบทความในวันนี้คือ โพรไบโอติก LPR เพราะเป็นสายพันธุ์ที่กำลังดังในตอนนี้ เนื่องด้วยเป็นสายพันธุ์ที่มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุดมีการศึกษามายาวนานกว่า 30 ปี และมีคุณสมบัติที่น่าสนใจเหมาะกับการดูแลเด็กๆ ในยุคนี้

 

5 คุณประโยชน์ ของ โพรไบโอติก LPR…เพื่อฮีโร่คนเก่งยุค 5G

LPR  คือ โพรไบโอติก ซึ่งก็คือจุลินทรีย์ดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบได้ในนมแม่ นอกเหนือจากสารอาหารอื่น ๆ ที่มีมากกว่า 200 ชนิด เช่น แคลเซียม วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ และ DHA  ที่แม่ทราบกันดีอยู่แล้ว  โดย LPR ยังสามารถพบได้ในโยเกิร์ต นมเปรี้ยวและนมบางชนิดอีกด้วย จากงานวิจัยต่างๆที่ตีพิมพ์ในวารสาร               ทางการแพทย์ พอจะสรุปได้ถึงคุณประโยชน์ที่โดดเด่นของ LPR ได้

 

 

 

5 คุณประโยชน์* ของ โพรไบโอติก LPR

 

ช่วยปกป้องทางเดินหายใจ ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจลงได้ร้อยละ 37

 

 

 

ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างแอนติบอดี้ ชนิด IgM, IgA, IgG

 

 

 

ช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลำไส้ ช่วยให้ดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น

 

 

 

ช่วยเรื่องการขับถ่าย ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร จึงมีส่วนช่วยในการขับถ่าย

 

 

 

ช่วยเสริมการทำงานของสมอง มีส่วนร่วมในการสร้างสารสื่อประสาท ช่วยเพิ่มศักยภาพสมองด้านกระบวนการทางสติปัญญา (cognitive performance)

 

 

จากบทสรุปข้างต้นจะเห็นได้ว่า โพรไบโอติก LPR มีความน่าสนใจในเรื่องคุณประโยชน์ ที่มีผลต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร ภูมิคุ้มกัน และความแข็งแกร่งของร่างกายโดยรวม ซึ่งส่งผลพัฒนาการของลูกในระยะยาว

 

*เอกสารอ้างอิง

  1. Hojsak I, et al. Clin Nutr. 2010 Jun;29(3):312-6.
  2. Rinne M, et al. J Pediatr 2005; 147(2): 186–91.
  3. Flach J, et al. Cogent Food & Agriculture Volume 4, 2018 – Issue 1
  4. Wang G, et al. Front Cell Infect Microbiol. 2020; 10: 423.

 

Doctor Talk : เช็คสัญญาณสุขภาพอาการปวดคอและหลัง ความเสี่ยงของคนทำงาน

 

Doctor Talk 

เช็คสัญญาณสุขภาพอาการปวดคอและหลัง ความเสี่ยงของคนทำงาน

หลายๆ คนคงนึกไม่ถึงว่า คนหนุ่มสาววัยทำงานที่ยังแข็งแรงก็สามารถเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้สัญญาณเล็กๆ น้อยๆ จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานในปัจจุบัน เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ การก้มเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน      จนรู้สึกปวดคอ บ่า ไหล่ และหลัง รวมถึงอาการร้าวไปที่แขน ขา บางรายรุนแรงถึงขั้นมีอาการชา พฤติกรรมเหล่านี้หากจัดวางท่าทางไม่ถูกวิธี และทำจนชิน      เป็นนิสัย ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้

ปวดคอ ปวดหลัง หากรู้ทัน ลดเสี่ยงอันตรายได้

ปวดคอ ร้าวลงแขน ลักษณะการปวดแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ เป็นการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และการปวดจม ปวดร้าว ลามไปที่แขน ข้อศอกหรือมือ อาจพบว่ามีอาการชาร่วมด้วย โดยลักษณะของการปวดร้าวดังกล่าว มักพบว่าเป็นการปวดของเส้นประสาทบริเวณไขสันหลัง อาจเกิดจากการอักเสบ การถูกกดทับ     นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หรือมีหินปูนเกาะบริเวณกระดูกสันหลังเข้าไปกดเส้นประสาท  และจะมีภาวะอ่อนแรงในผู้ที่มีอาการรุนแรง

ปวดหลัง ร้าวลงขา มีอาการปวดร้าวทับเส้นประสาท ลงสะโพก ลงขา อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือเคลื่อนไปทับเส้นประสาท มีหินปูนหรือกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูก  รักษาได้ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง  แผลเล็ก  เจ็บน้อย  ฟื้นตัวไว 

การผ่าตัดโดยวิธีใช้กล้อง Endoscope เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก มีเลนส์รับภาพอยู่ตรงปลายท่อสอดเข้าไปในตัวผู้ป่วย สามารถมองเห็น อวัยวะต่างๆ ของผู้ป่วยได้ชัดเจน ขนาดแผลประมาณ 7-8 มิลลิเมตร

การผ่าตัดโดยวิธีใช้กล้อง Microscope เป็นการใช้กล้องขยายภาพในบริเวณที่ทำการผ่าตัด กล้องจะอยู่ด้านนอกตัวผู้ป่วย สามารถมองเห็นและทำการผ่าตัด  ได้ละเอียดชัดเจน  วิธีนี้ใช้สำหรับการผ่าตัดกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือเป็นบริเวณใหญ่ ขนาดแผลประมาณ 2.5 เซนติเมตร

 

 

เช็คสัญญาณสุขภาพ อาการปวดแบบไหนที่ควรพบแพทย์?

รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน มีอาการปวดหรืออักเสบแบบเฉียบพลัน ขยับตัวลำบาก  

มีอาการปวดต่อเนื่อง  ระดับความปวดไม่มาก ไม่รุนแรง แต่ปวดนานเกิน 4-6 สัปดาห์

 

 

 

 

จัดวางท่า บอกลาอาการปวด

 

ปรับท่าทาง ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ทุกๆ 1 ชม. หากนั่งนาน ควรลุกขึ้นยืน เดิน ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

 

 

 

 

จัดพื้นที่ให้รู้สึกสบาย ใช้โต๊ะ-เก้าอี้ และสิ่งของต่างๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

 

 

 

ออกกำลังกาย ยืดเส้นยืดสาย เสริมสร้างความแข็งแรง

 

 

 

 

 

หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่ถูกต้อง  เช่น นั่งหลังค่อม นั่งไขว่ห้างนานๆ หยิบของในระยะเกินเอื้อม ก้มลงยกของหนัก