The Selection’s Choice : เทคนิคเลือกโต๊ะ เก้าอี้ทำงานอย่างไร ไม่ให้เป็นออฟฟิศซินโดรม

 

The Selection’s Choice

เทคนิคเลือกโต๊ะ เก้าอี้ทำงานอย่างไร ไม่ให้เป็นออฟฟิศซินโดรม

เชื่อว่าหลายคนคงเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่มีดีไซน์สวยงามและมีฟังก์ชันการใช้งานที่ถูกใจ แต่นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้ว การเลือกใช้โต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสรีระก็จะส่งผลดีต่อผู้ใช้งาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่มักจะนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และมีข้อจำกัดในการใช้งานโต๊ะ เก้าอี้ของสำนักงานที่มีอยู่เดิม อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพ เช่น อาการปวดคอ บ่า ไหล่ และหนึ่งในนั้นคือโรคออฟฟิศซินโดรม รวมถึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราควรรู้จักวิธีการใช้งานโต๊ะ เก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระของเรามากที่สุด เพื่อเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคดังกล่าวได้

 

โต๊ะพอดีกับช่วงตัว  โต๊ะไม่สูงหรือต่ำเกินไป แขนวางระนาบและตั้งฉากกับโต๊ะได้ จะช่วยลดอาการปวดบ่าและไหล่ มุมขอบโต๊ะโค้งมน            ไม่มีเหลี่ยมแหลม ป้องกันการกดทับเส้นประสาทบริเวณแขนส่วนล่าง

 

จอคอมระดับสายตา วางจอให้ห่างจากตัวประมาณ 1 ช่วงแขน หากต้องทำงาน 2 จอพร้อมกัน ควรหาจุดวางใกล้กันไม่เอียงไปมา                 หรือข้างใดข้างหนึ่งจนเกินไป

 

วางคีย์บอร์ดพิมพ์สะดวก วางคีย์บอร์ดและเม้าท์ให้สามารถเคลื่อนไหวข้อมือได้ดี ไม่ต้องยกไหล่หรือเกร็งแขน

 

 

จัดพื้นที่ใกล้-ไกลตัว ตามการใช้งาน
• 35-45 ซม. พื้นที่วางของใช้ตลอดเวลา เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ ปากกา สมุดจดโน๊ต
• 70 – 90 ซม. หยิบของใช้งานบ่อย โดยยืดแขนเอื้อมถึง ไม่ต้องเอนตัว
• 100-130 ซม. หยิบสิ่งของที่ใช้เป็นครั้งคราว

 

 

ปรับความสูงเก้าอี้ให้พอดี ข้อศอกทำมุม 90 องศากับโต๊ะ หัวเข่าต้องไม่ชนหรืออยู่ต่ำกว่าใต้โต๊ะจนเกินไป หากเท้าแตะไม่ถึงพื้น                    อาจใช้ที่พักเท้า เพื่อลดการกดทับของต้นขาและการนั่งห้อยเท้า

 

        เคลื่อนไหวได้สะดวก ขณะนั่งทำงานสามารถหมุน โยก หรือปรับเปลี่ยนท่วงท่าได้โดยไม่รู้สึกอึดอัด

          พนักพิงช่วยพยุงหลัง ควรเลือกแบบเต็มแผ่นหลัง เพื่อพยุงและรองรับกระดูกสันหลังขณะนั่งทำงาน

          เบาะรองนั่งกระจายน้ำหนัก เลือกเบาะนิ่มพอประมาณ เพื่อกระจายน้ำหนักอย่างทั่วถึง ไม่ควรเลือกเบาะนิ่มเกินไป เพราะนั่งแล้วตัวจะยุบลง

เมื่อเราเรียนรู้วิธีใช้โต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสรีระ เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานแล้ว ปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือ มุมที่นั่งทำงานควรมีแสงสว่างส่องถึงอย่างเพียงพอด้วยเช่นกัน และสิ่งสำคัญที่สุด คือ ร่างกายของเราต้องการการพักผ่อน อย่าใช้งานร่างกายหนักเกินไป ควรมีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อลดความเหนื่อยล้า ผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ให้พร้อมทำงานได้อย่างเต็มที่

 

เรียบเรียงข้อมูลจาก

  • จุลสารชีวอนามัย คณะแพทย์ฯ รพ.รามาธิบดี
  • การจัดโต๊ะทำงานและเก้าอี้ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ โดย สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)

We Are What We Eat : เครื่องดื่มดีต่อใจ เพิ่มพลังให้วัยทำงาน

 

 

We are          what we eat      เครื่องดื่มดีต่อใจ เพิ่มพลังให้วัยทำงาน

 

เมื่อถึงจุดที่ร่างกายเกิดความอ่อนล้า รู้สึกเหนื่อยระหว่างวันจากการทำงานหนัก อาจทำให้เราสูญเสียพลังงานในร่างกายและพลังงานสมอง The Selection     ขอแนะนำวิธีหนึ่งในการเพิ่มพลังให้คุณลุยงานต่อได้ นั่นคือ เครื่องดื่มสดชื่น กระปรี้กระเปร่าที่ควรมีติดโต๊ะทำงาน หรือจะมีขนมกินกรุบกริบกินควบคู่เพิ่มความอร่อยไปด้วยก็ไม่ว่ากัน

 

             เมนูเครื่องดื่มแสนสดชื่น ต้องยกให้ Smoothie เลย วัยทำงานคนไหนรักสุขภาพ แนะนำให้เลือกผลไม้รสหวานน้อยและพืชผักสีเขียวเป็นส่วนประกอบหลัก  เช่น ผักคะน้า ผักโขม ผักเคล ผักกาดหอมและแอปเปิลเขียว ช่วยขับสารพิษในร่างกาย หากดื่ม Green Smoothie แก้วใหญ่ (500 มิลลิลิตร) จะได้รับวิตามินเคสูงถึง 500 % ของปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก และลดเสี่ยงโรคเบาหวานจากการกินขนมจุบจิบ อีกหนึ่งตัวเลือกไขมันดี คือ Smoothie อะโวคาโด สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ลองโรยข้าวโอ๊ต      เมล็ดเจียลงไปด้วย ก็จะช่วยเพิ่มไฟเบอร์ ทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้น หรือจะ Topping ด้วย ถั่วอัลมอนด์ ซึ่งอุดมไปด้วยแมกนีเซียม ก็ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อจากความอ่อนล้าระหว่างวันได้นะ

                                                                                      เครื่องดื่มสีน้ำตาลเข้ม รสชาติขม แต่หอมอร่อย กลมกล่อม ผลิตจากเมล็ดของต้น Cacao                 มีคุณสมบัติช่วยลดความเครียดจากการทำงานได้ ดื่มโกโก้ 1 แก้วใหญ่ (500 มิลลิลิตร) จะมี                กรดอะมิโน Tryptophan ประมาณ 300 มิลลิกรัม ซึ่งจะช่วยสร้าง Serotonin ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นอีกด้วย และยังมีสาร Flavonoids มากกว่า 350 มิลลิกรัม ที่ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง เมื่อใดที่รู้สึกอ่อนล้า ลองให้โกโก้เป็นเพื่อนคู่ใจคุณยามบ่ายสักครั้ง

 

                                                                                                  ตัวช่วยบำรุงสมอง คิดงานคล่อง ลองดื่มน้ำบีทรูทสักแก้ว ผักสีแดงสด รสเปรี้ยวอมหวานนี้ หัวบีทรูทดิบ 100 กรัม อุดมไปด้วยสารไนเตรทมากถึง 250 กรัม ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยให้ร่างกายดูดซับออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ 2 ไมโครกรัม และเบต้าแคโรทีน 20 ไมโครกรัม ช่วยบำรุงสายตา เหมาะสำหรับชาวออฟฟิศที่จ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ แนะนำว่าคนไหนชอบ Hang Out หลังเลิกงาน ต้องหามาชิมสักแก้ว เพราะเม็ดสีของบีทรูทช่วยกระตุ้นการทำงาน                                                                                                 ของตับให้ขับสารพิษได้ แต่ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ คือ ไม่ควรดื่มเป็นประจำ                                                                                                       เพราะสารอาหารบีทรูทมีผลทำให้ระดับความดันโลหิตต่ำลง

 

 

ทำงานอยู่ในห้องแอร์หรือนั่งประชุมนานๆ อาจรู้สึกคอแห้ง เจ็บคอ พักเบรคจิบน้ำผึ้งมะนาวสักนิด เพราะในน้ำผึ้งมะนาว 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร) มีกรดซิตริก และวิตามินซีอยู่มากกว่า 40% ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน ช่วยให้ชุ่มคอและลดอาการไอได้  ส่วนน้ำผึ้งยังมีโพรไบ-โอติกส์และแลคโตบาซิลัส ส่งผลดีต่อระบบการย่อยอาหาร ปรับความสมดุลการทำงานของลำไส้  สูตรการทำก็ไม่ยาก เพียงบีบมะนาวครึ่งลูกและน้ำผึ้ง 2 ช้อนชา ผสมในน้ำอุ่น 1 แก้ว                                                                                                           คนให้เข้ากัน เพียงเท่านี้เราก็จะได้น้ำผึ้งมะนาวที่หอมละมุน เติมความสดชื่นบนให้แก่ช่วงเวลา                                                                                                         ทำงานของคุณแล้วล่ะ

 

                                                                                                                    ชาเขียวแบบใส ไม่ใส่นม เหมาะกับคนทำงานที่รักสุขภาพ เพราะชาเขียว  1 แก้ว (200 มิลลิลิตร)  ให้พลังงานต่ำเพียงประมาณ 100 แคลอรี่ มี Caffeine เล็กน้อยประมาณ 14 มิลลิกรัม ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ผ่อนคลายความตึงเครียดของศีรษะและเบ้าตา ชงในน้ำร้อน 1 – 2 ช้อนชาก็เพียงพอ ไม่แนะนำให้ดื่มในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน ระหว่างวันลองชวนเพื่อนๆ พักเบรค มาปาร์ตี้ Afternoon Tea สักนิด รับรองว่าจะรู้สึกสดชื่น                                                                                                                     ตื่นจากความเหนื่อยล้าแน่นอน

 

ผลไม้ยอดนิยมของไทย หอมหวานอร่อย เครื่องดื่มเกลือแร่จากธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติของน้ำมะพร้าวที่มีฤทธิ์เย็น จึงช่วยรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย ร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็ว ป้องกันการสูญเสียน้ำได้เป็นอย่างดี น้ำมะพร้าว 240 มิลลิลิตร มีแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามินซี 34 มิลลิกรัม แคลเซียม 38 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 38 มิลลิกรัม ฯลฯ อีกทั้งช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเสริมสร้างคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว ประโยชน์เยอะขนาดนี้ ลองดื่มน้ำ-                                                                                                      มะพร้าวแบบแช่เย็นสักแก้ว รับรองว่าจะช่วยเพิ่มความสดชื่นให้คุณมีแรงทำงานต่อได้แน่นอน

 

                                                                                                                                                                                   พืชสมุนไพรประจำบ้าน กลิ่นหอมชื่นใจที่ไม่ควรมองข้าม เพราะช่วยแก้อาการอ่อนเพลียและดับกระหายได้ ในใบเตย 100 กรัม จะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด ทั้งวิตามินซี วิตามินบี 3   (ไนอะซิน) 8 มิลลิกรัม ช่วยลดระดับไขมันในเลือด มีเบต้าแคโรทีน 3 ไมโครกรัม ช่วยป้องกัน         โรคข้ออักเสบ ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีแคโรทีนอยด์ ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ                                                                                                     ที่เสียหายจากอนุมูลอิสระ วิธีทำก็ง่าย เพียงนำใบเตยหั่นเป็นท่อน ต้มลงในน้ำเดือด ใส่น้ำตาล                                                                                                       และเกลืออีกสักนิดเป็นอันเสร็จ ใครพอมีเวลาลองทำน้ำใบเตยไว้ดื่มเองหรือจะแบ่งเพื่อนร่วมงาน                                                                                                   สดชื่นไปด้วยกัน  ก็เป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานให้ดีขึ้นเหมือนกันนะ

 

เรียบเรียงข้อมูลจากเว็บไซต์ sanook.com, kapook.com, KomChadLuek Online, pharmacy.mahidol.ac.th

Preparation : COVID-19 ปรับเปลี่ยนความคิดเพื่อชีวิตใหม่ ให้พร้อมรับมือกับชีวิตที่ไม่มีวันเหมือนเดิมไปตลอดกาล

   ปรับชีวิตวิถีใหม่เพื่ออยู่ร่วมกับโรคระบาด อาจจะเป็นสิ่งที่ หลายคนต่างก็คาดการณ์กันไว้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิต ในที่ทำงาน ณ ปัจจุบัน ได้มีการยกเลิกมาตรการล็อคดาวน์ และเปิดพรมแดนให้ทุกคนสามารถเดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ได้มากขึ้น ทำให้หลายคนเริ่มที่จะปรับตัว และใช้ชีวิตกันอย่างปกติ ถือว่า เป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญต่อการปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ของพวกเราทุกคน แต่ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม เพราะการออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับชีวิตวิถีใหม่ และแนวทางต่างๆ เพื่ออยู่ร่วมกับโควิดต่อไป

 

          หลังจากที่ทุกอย่างเริ่มกลับมาเป็นปกติ เราสามารถออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านได้มากขึ้น และแน่นอนว่า เราไม่สามารถเลี่ยงการพบปะผู้คนได้  อาจนำมาซึ่งความวิตกกังวลคิดมาก เสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตตามมา แต่ความวิตกกังวลนั้นเองก็ยังมีข้อดีที่จะช่วยเปลี่ยนความคิดที่ว่า “เปลี่ยนความวิตกกังวล ให้เป็นเกราะป้องกัน” เช่น เมื่อเราไปยังสถานที่สุ่มเสี่ยง เราจะเกิดความวิตกกังวลขึ้นมาว่า เราจะได้รับเชื้อหรือไม่ ทำให้เราคิดถึงการระวังป้องกันตัวจาก  โควิด เพียงเท่านี้คุณสามารถลดความวิตกกังวลได้ เพราะหากคุณสามารถจัดการกับความกังวลเหล่านี้ได้ จะไม่เพียงช่วยให้ตัวคุณเองปลอดภัย แต่ยังช่วยให้    คนรอบตัวปลอดภัยอีกด้วย

           เพราะวันเวลาไม่เคยหยุดรอใคร… โรคระบาดพรากเวลาของเราไปเกือบ 3 ปี ถึงเวลาแล้วที่เราต่างก็ต้องกลับไปใช้ชีวิต เอาเวลาที่เสียไปคืนมา สิ่งที่เกิดขึ้น อาจทำให้เรานั้นหมดไฟในการดำเนินชีวิต ในการทำงาน รวมถึงเป้าหมายในอนาคต โดยเราขอเสนอ การจัดตารางเวลา 8 : 8 : 8 เพื่อสร้างสมดุลให้กับชีวิตและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีหลักการแบ่งเวลา ดังนี้

8 ชั่วโมง   สำหรับการทำงาน
8 ชั่วโมง   สำหรับการผ่อนคลายหรือนันทนาการ เช่น ทำงานอดิเรก ใช้เวลาอยู่กับคนที่คุณรัก
8 ชั่วโมง   สำหรับการนอนหลับพักผ่อน

             มนุษย์ทุกคนมีความเคยชินกับการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของพวกเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เราต้องเว้นระยะห่างเพื่อควบคุมโรค และสิ่งที่ทดแทนความเหงาของเราในสถานการณ์เช่นนี้คือ สื่อโซเชียลออนไลน์ต่างๆ ที่สามารถสร้างความบันเทิงใจให้คลายเหงาได้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สื่อออนไลน์มีทั้งด้านที่ดีและไม่ดี หากเราใช้งานมากเกินไปหรือใช้ผิดวิธี อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เพราะฉะนั้นอย่าลืมปรับความสมดุลในชีวิต แบ่งเวลาใช้ชีวิตแบบออนไลน์ ออฟไลน์ กับเพื่อนฝูงและคนที่คุณรักกันอย่างเหมาะสม

              โรคระบาดที่เกิดขึ้นกระทบกับการใช้ชีวิต และสร้างปัญหาตามมาอย่างมากมาย เช่น เศรษฐกิจ รายได้ การทำงานและการใช้ชีวิต ทำให้กระทบต่อความรู้สึก ความเครียด และสภาพจิตใจ อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในอนาคตได้ วิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับความรู้สึกเหล่านี้คือการรับรู้ตัวเองว่ารู้สึกเช่นไร เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจที่มาของความรู้สึกเหล่านั้น ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะสาเหตุใด เมื่อคุณปล่อยให้ตัวเองเข้าใจความรู้สึกทั้งหมดที่เกิดขึ้น คุณก็จะยอมรับ และก้าวผ่านความรู้สึกนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นอย่าลืมสังเกตความรู้สึกและจัดการความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอๆ

                สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน การยอมรับได้เร็วก็จะสามารถปรับตัวได้เร็ว ทำให้มองเห็นโอกาสหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นการหาความรู้เพิ่มเติม การพัฒนาทักษะใหม่ๆ นับเป็นเรื่องที่ดีต่อตนเอง อีกทั้งยังสามารถส่งต่อเป็นความรู้ให้กับผู้อื่นได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย แม้แต่ละคนจะแตกต่างกันแต่ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ในพื้นที่แห่งความเข้าใจ ฉะนั้นอย่าลืมสร้างสมดุลทางความคิด ใช้ชีวิตอยู่บน    ความปลอดภัย และเข้าใจซึ่งกันและกันท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้

Trend Update : “รวบรวมมาให้แล้วกับ 10 Application ที่ควรดาวน์โหลด” ลงสมาร์ทโฟนของคุณครบจบในเครื่องเดียว

Trend Update

ทุกวันนี้เทคโนโลยีต่างเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ช่วยให้ทุกคนได้สะดวกสบายในทุกมิติของการใช้ชีวิต อย่างสมาร์ทโฟน เครื่องมือที่ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นด้วย Application ต่างๆ ที่นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้วยังช่วยปกป้องสุขภาพของผู้ใช้งานอีกด้วย โดยเรา “รวบรวมมาให้แล้วกับ 10 Application ที่ควรดาวน์โหลด” 

 


COVID-19 Tracker แอปพลิเคชันที่ผู้ใช้สามารถติดตามสถานะผู้ติดเชื้อ รวมถึงพื้นที่เสี่ยงต่างๆ เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้งานสะดวก และง่ายโดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แสดงบนแผนที่ เช่นเคสที่มีการคอนเฟิร์มการติดเชื้อจะเป็นจุดวงกลมสีแดงกระพริบ สำหรับเคสที่ผู้ป่วยรักษาหายแล้วจะเป็นไอคอนสีเขียว กระจายอยู่ในแผนที่ เป็นต้น ซึ่งจะแสดงผลแบบเรียลไทม์ พร้อมระบุพิกัดและรายละเอียดของผู้ติดเชื้อในประเทศไทย

 

Away COVID-19 มินิแอปพลิเคชันของ LINE เป็นมินิแอปที่จะช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เพียงกดเพิ่มเพื่อน (Add friend) ที่บัญชี Away Covid-19 ก็จะมีเมนูการใช้งานให้เลือกใช้ ครอบคลุมตั้งแต่การอัปเดตสถิติผู้ติดเชื้อในไทย ฟังก์ชันการค้นหาเส้นทางไปสถานบริการตรวจเชื้อ COVID-19 แผนที่ข้อมูลร้านค้าที่จำหน่ายเจลล้างมือและหน้ากากอนามัย อีกทั้งยังมีการแจ้งเตือนก่อนเข้าใกล้พื้นที่ต่างๆ ว่าตำแหน่งที่คุณอยู่มีเคสผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้ออยู่จำนวนเท่าไร


ใกล้มือหมอ แอปพลิเคชันที่จะช่วยให้คุณนั้นอุ่นใจเหมือนมีแพทย์อยู่ด้วย 24 ชม. แอปพลิเคชันที่เอาไว้สำหรับเช็คอาการ COVID-19 แค่ปลายนิ้ว ย่อตำราแพทย์ฉบับเข้าใจง่ายให้ทุกคนได้ศึกษาหาข้อมูลที่ถูกต้องได้ด้วยตัวเองตามนโยบาย “รู้เร็ว รักษาเร็ว หายเร็ว” ของผู้พัฒนา แถมเป็นตัวช่วย อสม. คัดกรองโรคเบื้องต้นกว่าพันโรคอีกด้วย

 


หมอชนะ แอปพลิเคชันฝีมือคนไทย แอปพลิเคชันนี้จะติดตามตำแหน่งของผู้ใช้งานด้วยระบบ GPS ซึ่งสามารถติดตามการเดินทางของผู้ใช้งานผ่านการเช็คอินตามสถานที่ต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ แอปพลิเคชันหมอชนะ ยังมีระบบ Trace Back ที่ช่วยให้เราสามารถติดตามกลุ่มเสี่ยงที่เคยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อได้

 


AOT Airports และ Vwatch (Virus watching system) แอปพลิเคชันสำหรับเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติทุกประเทศทุกสนามบิน และคนไทยที่มาจากประเทศเสี่ยง เพื่อสะดวกในการติดตามตัวหากมีการตรวจพบว่ามีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ โดย AOT Airports ใช้งานด้วยระบบGPS ติดตามตัว และนอกจากนี้แอปพลิเคชั่นดังกล่าว ยังสามารถใช้กรอกแบบฟอร์ม ต.8 (ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ) ได้อีกด้วย

 


DDC-Care เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกสร้างขึ้นโดยกรมควบคุมโรค (Department of Disease Control) ซึ่งจะช่วยในการติดตามตำแหน่ง และประเมินสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในระหว่างการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ยิ่งกว่านั้น หากเราประเมินความเสี่ยงแล้วพบว่า อยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงจะได้รับเชื้อ ระบบภายในแอปพลิเคชันสามารถแนะนำให้เราติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อความช่วยเหลือได้อีกด้วย

 


NIEMS-Care นับเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่สำคัญต่อการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชุมชน โดยหลักการทำงานของแอปพลิเคชันนี้ คือแต่ละครัวเรือนจะมีตัวแทนทำหน้าที่รายงานสถานะสุขภาพของสมาชิกในครัวเรือนเป็นประจำโดยมีผู้ใหญ่บ้านหรือผู้แทน เป็นผู้ติดตาม และเฝ้าระวังสถานการณ์จากข้อมูลที่ปรากฏบนแอปพลิเคชัน

 

Card2U อีกหนึ่งแอปพลิเคชันฝีมือคนไทยที่ผลิตมาเพื่อคนไทย พัฒนาขึ้นให้เป็นตัวช่วยในการสอดส่องเรื่องการระบาดของ COVID-19 โดยมีการพัฒนาต่อยอดมาจากเว็บไซต์ ThaiFightCOVID ซึ่งแอปพลิเคชันนี้จะมีการนำเสนอข่าวสาร ทั้งข่าวด่วน   และข่าวประจำวันเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาด แสดงสถิติจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งประเทศ พื้นที่เสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง รวมถึงมีช่องทางตรวจสอบข่าวปลอมได้อีกด้วย

 


Doctor A to Z เเอปพลิเคชันสำหรับ “หาหมอที่บ้านผ่านวิดีโอคอล Teleconsult” เป็นเเอปพลิเคชันทางการเเพทย์ที่ช่วยป้องกันทั้งหมอ และคนไข้เพื่อไม่ให้เสี่ยงเมื่อต้องออกไปพบเเพทย์ที่โรงพยาบาลผ่านการใช้ระบบออนไลน์ที่เรียกว่า Teleconsult     ที่ช่วยให้คนไข้หาหมอจากที่บ้านผ่านวิดีโอคอลแบบ Online Real-Time ลดความเสี่ยง ช่วย Save หมอ Save คนไข้ ถือว่าเป็นแอปพลิเคชันที่มีประโยชน์มากทีเดียว

 


Ooca แอปพลิเคชันบริการให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิตผ่านวิดีโอคอล โดยคุณสามารถเลือกจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญตรงกับปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ พร้อมเลือกนัดหมายเวลาที่สะดวกหรือพูดคุยปรึกษาได้ทันที นอกจากนั้น Ooca (อูก้า)  ยังเปิดบริการพิเศษอย่าง Ooca x Covid-19 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่อาจมีภาวะเครียดหรือตื่นตระหนก ซึ่งตอบโจทย์ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะผู้ที่ถูกกักตัว ทาง Ooca สามารถให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับสภาวะจิตใจ โดยไม่ต้องเดินทางออกจากบริเวณกักตัว

We Are What We Eat : 5 อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน Covid-19

We Are What We Eat

5 อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน Covid-19

“เพราะภูมิคุ้มกันของเราทุกคน ไม่ได้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องหมั่นดูแลระบบภูมิคุ้มกัน

ด้วยการปรับเปลี่ยน การเลือกรับประทานอาหาร”

We are what we eat จะพาคุณมาทำความเข้าใจต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเรา และแนะนำอาหารดีๆ ที่เหมาะสมในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต้านโควิด 19 

ระบบภูมิคุ้มกัน หรือ Immune system คือระบบที่ประกอบขึ้นจากโครงสร้างและกระบวนการทางชีวภาพหลายอย่างประกอบกัน ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันนั้นสำคัญกับเราเป็นอย่างมากเพราะจะช่วยปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม ช่วยไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหมั่นคอยบำรุงให้แข็งแรงอยู่เสมอ และยิ่งในช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19 นั้นเป็นช่วงที่สำคัญอย่างมากในการบำรุงเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้หลายคนได้หันมาดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย และเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ทั้งอาหารหลัก อาหารเสริม กันมากขึ้นโดยวันนี้เราจะมาขอแนะนำวิตามิน 5 ชนิด ที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายดังนี้

สารอาหารยอดนิยมที่เราคุ้นเคย ร่างกายควรได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เพียงพอคือ 25-100 กรัม หรือ 400 กรัมต่อวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงอายุ โดยแหล่งวิตามินซีในอาหารพบได้ง่ายๆ ตามผักและผลไม้เป็นเป็นส่วนใหญ่ อาทิ ฝรั่ง สตรอเบอร์รี่ มะละกอแขกดำ ทุเรียนหมอนทอง พริกหวาน  ผักคะน้า บร็อคโคลี่ และอื่นๆ อีกมากมาย

เป็นสารอาหารที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน แหล่งอาหารของวิตามินเอที่สามารถดูดซึม และใช้ประโยชน์ได้สูง คือ พวกเครื่องในสัตว์ นม ไข่แดง นอกจากนี้ยังมีแหล่งอาหารจากพืชจำพวกผักใบเขียวเข้ม และผลไม้สีเหลืองอย่างตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง มะละกอสุก เป็นต้น

สารอาหารที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันในรูปแบบของอาหารเสริม แต่รู้หรือไม่ว่าแหล่งอาหารของสังกะสีก็สามารถพบได้ในเนื้อสัตว์ เช่น เครื่องใน หอยนางรม สัตว์ปีก และปลา มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต และแบ่งเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งควบคุมการทำงานของเอนไซม์ที่เป็นกลไกหลักในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เรียกว่าเป็นสารอาหารมีดีไม่แพ้ โปรตีน และ วิตามินซีกับเอ กันเลยทีเดียว

สารอาหารที่สายควบคุมคาร์โบไฮเดรตต้องกดไลค์ เพราะสารอาหารชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มคนรักสุขภาพ และควบคุมน้ำหนัก ซึ่งโปรตีนนั้นหลายคนอาจไม่รู้ว่า โปรตีนที่มีคุณภาพดีจะมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ครบถ้วนต่อร่างกาย ช่วยสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกัน และสารภูมิคุ้มกันต่างๆ ได้ โดยแหล่งอาหารจากโปรตีนไม่จำเป็นต้องได้รับจากเนื้อสัตว์ ไข่ นม เท่านั้น แต่โปรตีนจากพืช อย่างเช่น ถั่วต่างๆ เมล็ดพืชต่างๆ ก็เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดีได้เช่นกัน ทีนี้เราเริ่มรู้จักวิตามินต่างๆ กันมากขึ้นแล้ว ก็อย่าลืมเติมเต็มวิตามินให้ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ เพื่อเสริมภูมิคุ้มให้กับร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันร่างกายให้ปลอดภัยจาก Covid-19 ที่สำคัญนอกจากการรับสารอาหารที่ครบถ้วนแล้วอย่าลืมหมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอๆ

โพรไบโอติก และพรีไบโอติก หรือ จุลินทรีย์สุขภาพ นี่ถือว่าเป็น   คำยอดฮิตในกลุ่มคนที่ดูแลสุขภาพ เพราะมีส่วนช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์สุขภาพ                                                                                                                                                    ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในแหล่งอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช                                                                                                                                                          ข้าวโอ๊ต และหอมหัวใหญ่

       ทีนี้เราเริ่มรู้จักวิตามินต่างๆ กันมากขึ้นแล้ว ก็อย่าลืมเติมเต็มวิตามินให้ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ เพื่อเสริมภูมิคุ้มให้กับร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันร่างกายให้ปลอดภัยจาก Covid-19 ที่สำคัญนอกจากการรับสารอาหารที่ครบถ้วนแล้วอย่าลืมหมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ

 

Doctor Talk : เช็กสุขภาพหลังหายจากโควิด-19 หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบพบแพทย์

 

Doctor Talk

เช็กสุขภาพหลังหายจากโควิด-19 หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบพบแพทย์

เช็กสุขภาพหลังหายจากโควิด-19 หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบพบแพทย์เมื่อรักษาโรคโควิด-19 จนหายดี คือตรวจไม่พบเชื้อในร่างกายแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจยังรู้สึกว่ามีอาการบางอย่างหลงเหลืออยู่ หรือบางครั้งก็มีอาการที่เคยเป็นกลับมาใหม่เมื่อกลับไปบ้านแล้ว ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวะอ้วน และผู้ที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคเบาหวาน และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น โดยอาการที่ยังหลงเหลือนี้ เราเรียกว่า ลองโควิด (Long COVID)  ซึ่งเป็นอาการที่เกิดกับผู้ป่วย      โควิด-19 หลังจากได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ ไปจนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป

 

อาการลองโควิด (Long COVID) ที่พบบ่อย

• อ่อนเพลียเรื้อรัง
• เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
• ปวดศีรษะ
• ความจำผิดปกติ

 

• ไอ เจ็บแน่นหน้าอก
• หายใจลำบาก หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม
• สมาธิจดจ่อลดลง

 

 

 

• จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
• ท้องร่วง ท้องเสีย
• ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ
• ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล

 

 

      ดังนั้น หากท่านมีอาการต่างๆ เหล่านี้ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน โปรดอย่านิ่งนอนใจ ให้รีบไปพบแพทย์เฉพาะทางจะดีกว่า ทั้งนี้ ที่ศูนย์อายุรกรรม รพ.พญาไท 2 พร้อมดูแลทุกท่าน โดยสามารถสอบถามและนัดหมายแพทย์ล่วงหน้าได้ทาง HealthUp Application หรือ โทร. 02-617-2444 ต่อ 5418, 5419 ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00–19.00 น.

 

Growing Togther : เสริมภูมิคุ้มกัน สร้างความแกร่งให้ลูกรัก ต้องรู้จัก LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติก

Growing Together

เสริมภูมิคุ้มกัน สร้างความแกร่งให้ลูกรัก ต้องรู้จัก LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติก

ในปัจจุบันโพรไบโอติกกำลังได้รับความสนใจอย่างสูงเนื่องด้วยความตื่นตัวของกระแสการดูแลสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับพื้นฐานของระบบทางเดินอาหาร และระบบย่อยอาหารที่ดี ที่เป็นกุญแจสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน และการมีร่างกายที่แข็งแรง เพื่อพร้อมรับมือกับเชื้อโรคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น จุลินทรีย์ LPR เป็นหนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่กำลังได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมาก

LPR คือหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบในนมแม่ โยเกิร์ตและนมบางชนิด ที่น่าสนใจก็คือ จุลินทรีย์ LPR มีงานวิจัยในหลากหลายด้าน ที่หยิบยกมาวันนี้ก็คือเรื่องของงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในเด็กซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในยุคนี้มาก เนื่องด้วยปัจจุบันเด็กต้องเผชิญกับเชื้อไวรัสที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง

 

 

 

 

ปกป้องทางเดินหายใจในเด็ก (ศึกษาในเด็กอายุ 1–7 ปี)

LPR จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้เด็กมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และเมื่อเด็กไม่เจ็บป่วย สมองก็พร้อมเรียนรู้ในทุกๆ วัน เด็กยุคนี้ต้องสตรอง ร่างกายแข็งแกร่งมีความเก่งเฉพาะตัวที่ช่วยให้พร้อมสู่โลกอนาคต

 

 

 

 

LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายสตรอง ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นอย่างหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่าจุลินทรีย์ก่อโรคเป็นสิ่งที่มีผลดีต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร และภูมิคุ้มกันความแข็งแรงของร่างกายโดยรวม รวมถึงพัฒนาการของลูกในระยะยาว มีงานวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์ LPR และการปกป้องระบบทางเดินหายใจในเด็กอายุ 1–7 ปี ว่าช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในทาวเดินหายใจส่วนบนได้ถึง 37%

 

LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติก มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุด

ในปัจจุบัน LPR เป็นหนึ่งในสารอาหารที่กำลังได้รับความสนใจ โดยในวงการผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทย และสมาคมผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ทั้งใน ยุโรป อเมริกา อเมริกาใต้ ที่น่าสนใจคือ LPR จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดนี้ มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุด และ มีการศึกษาในด้านคุณประโยชน์มาต่อเนื่องกว่า 30 ปี

 

 

นอกจาก LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติกจะช่วยลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจแล้ว โพรไบโอติกยังช่วยส่งเสริมการย่อยอาหารและการขับถ่ายที่เป็นปกติ การมีสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีช่วยส่งเสริมสุขภาพของระบบย่อยอาหารและทางเดินอาหารให้มีสุขภาพแข็งแรง ย่อมส่งเสริมสุขภาพองค์รวมให้แข็งแรง คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจเรื่องโภชนาการของลูก ส่งเสริมให้ลูกได้รับ LPR ซึ่งเป็นหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบในนมแม่ โยเกิร์ต และนมบางชนิดเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับลูก

 

Doctor Talk : Health Check Up ตรวจสุขภาพตามไลฟ์สไตล์ ปรับแผนการดูแลสุขภาพ ในแบบที่เหมาะกับคุณ

                                                          บทความโดย: พญ.ธนีศา ภานุมาตรัศมี แพทย์หัวหน้าศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพญาไท 1

ความแตกต่าง ทำให้เราทุกคนนั้นมีไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารที่ชอบรับประทาน การท่องเที่ยวพักผ่อน การออกกำลังกาย หรืองานอดิเรกต่างๆ
รวมถึงรูปแบบการดูแลสุขภาพร่างกายของแต่ละคน ปัจจุบันการใช้ชีวิตของคนเรานั้น
ถูกปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมของสังคม ทำให้ไลฟ์สไตล์มีความหลากหลายมากขึ้น
 
เพราะรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน การตรวจสุขภาพให้ตรงตามไลฟ์สไตล์จึงเป็นอีกทางเลือก
ที่ช่วยให้เราสามารถวางแผนรับมือการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันก่อนว่าไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตแบบไหน มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง
 
กลุ่มคนทำงานหนัก
คนวัยทำงานคือช่วงวัยที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว จึงมักละเลยการดูแลสุขภาพ ใช้ชีวิตเร่งรีบ เกิดความเครียดสะสม
คนในกลุ่มนี้มักมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดในสมองแตก ตีบ ตัน ออฟฟิศซินโดรม
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรดไหลย้อน ไปจนถึงปัญหาทางด้านสุขภาพจิตใจได้ง่าย
 
 
กลุ่มปาร์ตี้
กลุ่มคนที่รักการสังสรรค์ ชอบเข้าสังคม ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ในบางรายอาจมีการสูบบุหรี่ร่วมด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับ ตับ ไต และปอด หรืออาจตามมาด้วยโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น
 
 
 
 
กลุ่มชอบออกกำลังกาย
ในกลุ่มคนที่ชอบออกกำลังกาย บางครั้งอาจมีความเข้าใจผิดอย่างการออกกำลังกายหนักๆ เป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ หรือการรับประทานอาหารคลีน กินคีโต
กิน Low Carb หรือทำ IF ไม่น่าจะเป็นบ่อเกิดของปัญหาทางด้านสุขภาพได้ แต่เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้น เหมาะสมกับสภาพร่างกายของเราหรือไม่ เช่น นักกีฬาที่ออกกำลังกายหนักทุกวันอาจจะมีคอเรสเตอรอลในระดับที่สูง เพราะคิดว่าหลังจากออกกำลังกายแล้วจะทานอะไรก็ได้ หรือการเลือกรับประทานอาหารอย่างผิดๆ เพื่อลดน้ำหนัก ทั้งหมดนี้หากไม่ได้รับคำแนะนำจากนักโภชนาการอย่างถูกต้อง อาจกลายเป็นผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ดังนั้น
เราควรปรับรูปแบบพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และออกกำลังกายให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองตามไปด้วย
เพราะสุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากพฤติกรรมของตัวเราเอง
 
 
กลุ่มกรรมพันธุ์
นอกจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลแล้ว สิ่งที่ยังต้องเฝ้าระวังอีกอย่าง คือเรื่องของโรคทางกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดภายในครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย ซึ่งโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมมีมากมายหลายชนิด โดยโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย เช่น มะเร็ง เบาหวาน หัวใจ หากคนในครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคเหล่านี้ ควรเช็คสุขภาพตัวเองเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
เพื่อเตรียมความพร้อมสุขภาพร่างกาย และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
 
กลุ่มผู้สูงวัย
เป็นกลุ่มที่ควรต้องดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพราะในช่วงวัยนี้ร่างกายจะเริ่มเสื่อมถอยขึ้นอย่างชัดเจน
ไม่กระฉับกระเฉงเหมือนเดิม การทำงานของระบบเผาผลาญที่น้อยลง ไปจนถึงระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่เริ่มเสื่อมสภาพตามวัย อย่างกระดูกพรุน
ข้อเข่าเสื่อม โรคต้อในดวงตา โรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือไปจนถึงโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
 
 
ไม่ว่าคุณจะมีพฤติกรรมแบบไหนก็สามารถปลอดภัยห่างไกลโรคได้ ขอเพียงแค่ดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีในทุกด้าน
ปรับเปลี่ยนแผนการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ทานอาหารครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นตรวจเช็ค อัพเดทสุขภาพเป็นระยะๆ
โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคก็จะลดลง เพราะหากร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลง หรือผิดปกติ ก็จะสามารถเตรียมตัวรับมือได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

Family Relationships : ชวนลูกเข้าครัว ได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด

1.ชวนลูกคิดเมนูอาหาร
                เป็นการกระตุ้นความคิด การวางแผน และฝึกการเป็นคนช่างสังเกต โดยเด็กๆ สามารถมีส่วนร่วมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการคิดเมนู สำรวจวัตถุดิบ               จดรายการของที่ต้องซื้อ เป็นกระบวนการง่ายๆ ที่ช่วยฝึกให้ลูกรู้จักการวางแผนอย่างเป็นระบบ และช่วยให้คนในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันอีกด้วย

                                                                                              2. เปลี่ยนลูกให้กลายเป็นผู้ช่วยเชฟ                                                                                                        ให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการช่วยเตรียมวัตถุดิบ หรือหยิบจับอุปกรณ์ในครัว เป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดเล็ก กระตุ้นประสามสัมผัส เติมเต็มจิตนาการ              และพัฒนาในเรื่องของความจำ ฝึกการช่างสังเกตุ แยกแยะสิ่งของต่างๆในครัวเรือน คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มต้นง่ายๆ จาก

                                                                                                                                                                                                                            อธิบายการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อฝึกให้ลูกน้อยช่วยหยิบจับสิ่งของได้อย่างคุ้นเคย และถูกต้อง

                                                                                                                                                                                                                              ลองให้เด็กๆ ช่วยชั่ง ตวง วัด เครื่องปรุง หรือส่วนผสม โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสอนเรื่องตัวเลขและน้ำหนักไปได้ในตัว

              ฝึกใช้แรงและเสริมทักษะการเรียนรู้ของลูกในการช่วยเตรียมวัตถุดิบประกอบอาหาร เช่น ตอกไข่ หั่นผัก ล้างผัก นวดแป้ง กดแม่พิมพ์ ฯลฯ

                       สิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กโดยเฉพาะนิ้วมือได้ดี รวมถึงฝึกความสัมพันธ์ระหว่างมือและสายตาที่ต้องทำงานประสานกัน                          ถือว่าเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและสมองไปพร้อมกัน

3. กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และปลุกจินตนาการของเจ้าตัวเล็ก
       เปิดกว้างจินตนาการกับ Food Art อีกทักษะที่จะช่วยให้ลูกมีสมาธิ และพัฒนาสมองซีกขวาให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น เพราะการได้จัดจาน ตกแต่งอาหาร                     หรือจัดโต๊ะอาหารช่วยฝึกให้เด็กๆ ได้ใช้ความคิด ตั้งแต่การจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ ให้ตรงกับจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่จะรับประทานอาหารร่วมกัน       ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สายอาร์ตต้องไม่ควรพลาดกับกิจกรรมนี้

4.เสริมสร้างทักษะการเข้าสังคมด้วยการทานอาหารร่วมโต๊ะกันอย่างพร้อมหน้า
กิจกรรมที่สำคัญมากๆ ในการพัฒนา และเตรียมความพร้อมให้เด็กๆ ได้ฝึกทักษะการเข้าสังคมด้วยการทานอาหารอย่างพร้อมเพรียงทั้งครอบครัว
นอกจากจะเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในบ้านให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ยังสร้างบรรยากาศความอบอุ่นภายในบ้านได้อีกด้วย

5.ปลูกฝังความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย และรักความสะอาดให้กับเจ้าตัวเล็ก
สิ่งสำคัญหลังจากจบมื้ออาหารคือการให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในการช่วยเก็บทำความสะอาดครัว และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ทำอาหาร รวมถึงการเก็บโต๊ะอาหารหลังจากทานเสร็จแล้ว เพื่อเป็นการส่งท้ายบทเรียนการเข้าครัวอย่างสมบูรณ์แบบ ให้เจ้าตัวเล็กเรียนรู้การทำภารกิจให้ลุล่วงจนเสร็จ

                                   การชวนลูกเข้าครัวเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำกิจกรรมร่วมกันสำหรับคนในบ้าน ได้ทั้งความสนุกสนาน ความรู้เพิ่มเติม                                                              จากประสบการณ์นอกห้องเรียนไปในตัวอีกด้วย และที่สำคัญที่สุดยังเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในตัวเองให้กับลูกน้อย                                 และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวในการช่วยสร้างสรรค์มื้ออาหารให้ สำเร็จอีกด้วย