Stroke In The Young วัยทำงานอายุน้อย ก็เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้

ถึงแม้ว่าโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุ โดยมักเพิ่มขึ้นตามอายุและปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และการสูบบุหรี่ เป็นต้น แต่โรคหลอดเลือดสมองยังสามารถพบได้ในคนที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี ซึ่งจะเรียกว่า “โรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย” หรือ Stroke In The Young ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อยจะมีความหลากหลายมากกว่าในคนอายุมาก

Stroke In The Young เป็นได้อย่างไร?

  • หัวใจผิดปกติ มีรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจแต่กำเนิด หรืออาจเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หลอดเลือดผิดปกติ โครงสร้างหลอดเลือดสมองผิดปกติ หรือหลอดเลือดอักเสบ มักเป็นผลมาจากโรคทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น เป็นโรค SLE
  • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ มักสัมพันธ์กับโรคทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือโรคมะเร็ง

BEFAST สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง

“เวลา” เป็นปัจจัยสำคัญ หากมีอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ให้รีบเรียกรถพยาบาลทันที ควรพบแพทย์ภายใน 4 ชั่วโมง

เป็น Stroke แล้วรักษาอย่างไร?

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองนั้นจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุการเกิดและความรุนแรงของโรค ดังนั้น สิ่งสำคัญในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย คือ การหาสาเหตุโดยละเอียดอย่างรวดเร็วและครอบคลุมโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต พิการ หรือเสียชีวิตได้ดี

ลดความเสี่ยงเป็น Stroke

  • สำรวจสุขภาพ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะแบบคาร์ดิโอ
  • เน้นกินผัก ผลไม้รสหวานน้อย หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงและมีรสจัด ทั้งรสหวาน มัน เค็ม รวมถึงอาหารแปรรูป

โรคหลอดเลือดสมอง ถือเป็นโรคอันตรายที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น เราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้ ด้วยการดูแลสุขภาพ เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี และสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ควรตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะ

FIBER POWER กินไฟเบอร์ ดีต่อใจ ดีต่อลำไส้

คุณสุภาสินี ศิลป์สาคร
นักกำหนดอาหารวิชาชีพ โรงพยาบาลพญาไท 1

หลายคนคงเคยได้ยินว่า หากไปกินอาหารประเภทปิ้งย่างหรือชาบูที่เน้นกินเนื้อสัตว์เป็นหลัก เราควรกินผักและผลไม้ควบคู่ไปด้วย เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการทำงานของระบบลำไส้และระบบขับถ่ายได้ดีขึ้น ซึ่งผักและผลไม้นี้จัดอยู่ในอาหารประเภทที่มีกากใยหรือไฟเบอร์ (Fiber) ซึ่งเป็นตัวช่วยปรับสมดุลร่างกายได้อีกวิธีหนึ่ง แต่การกินให้เพียงพอต่อความต้องการและกินให้เหมาะสมต้องกินอย่างไรบ้าง The Selection พาทุกคนมาทำความรู้จักกับไฟเบอร์ไปพร้อมกัน

ลำไส้ทำงานดี เพราะมีไฟเบอร์

ใยอาหารหรือไฟเบอร์ (Fiber) คือ คาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง เป็นกากอาหารของพวกพืช ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วเปลือกเข็งและเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ของมนุษย์ไม่สามารถย่อยสลายได้ ดังนั้น ใยอาหารจึงถูกขับออกมากับอุจจาระ มี 2 ชนิด ดังนี้

ใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำ (Insoluble dietary fiber)

ได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ย่อยสลายได้ยาก ดูดซับสารต่างๆ ได้น้อย แต่จะรวมตัวกับน้ำแล้วเกิดการพองตัวคล้ายฟองน้ำ เป็นกากใย ทำให้อิ่มเร็ว กระตุ้นลำไส้ให้บีบตัวได้ดี เพิ่มมวลอุจจาระ ขับถ่ายได้สะดวก

ใยอาหารที่ละลายน้ำได้ (Soluble dietary fiber)

ได้แก่ กัม เพคติน และมิวซิเลจส์ ละลายน้ำได้ดี มักปนกับส่วนที่เป็นแป้งในพืช สามารถรวมตัวกับน้ำในปริมาณมาก เกิดการกระจายโครงสร้างที่อัดแน่น ทำให้ดูดซับสารได้หลายอย่าง ช่วยชะลอและลดการดูดซึมน้ำตาลในเลือด

กินไฟเบอร์ยังไง ให้ดีกับร่างกายทุกวัน

ปริมาณที่แนะนำคือ 25 กรัมต่อวัน

  •  กินไฟเบอร์จากแหล่งธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ขัดสีน้อย ถั่ว เมล็ดแห้ง และผักต่างๆ
  • เพิ่มผักทุกมื้ออาหาร เช่น กินแกงใส่ผักหรือผัดผัก ใส่ผักใบเขียวในสลัด
  • สังเกตจากฉลาก เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุคุณค่าทางโภชนาการ ว่ามีไฟเบอร์สูง

เวลลี่แนะนำผลไม้ไฟเบอร์สูง

กล้วย ส้ม แอปเปิล ชมพู่ ฝรั่ง

ไฟเบอร์ชนิดผง มีประโยชน์จริงมั้ย?

แม้จะช่วยให้อิ่มเร็ว ดีต่อระบบการขับถ่ายและการย่อยอาหาร แต่ร่างกายอาจได้รับวิตามินและแร่ธาตุน้อย หากเลือกกินไฟเบอร์ชนิดผงในรูปแบบของอาหารเสริม ควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนโดยแนะนำให้ดื่มน้ำร่วมด้วย อย่างน้อย 1.5 – 2 ลิตรต่อวัน เนื่องจากไฟเบอร์จำเป็นต้องอาศัยน้ำในการช่วยให้พองตัว หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้ไฟเบอร์จับตัวเป็นก้อนแข็งและอุดตันลำไส้ได้

กินไฟเบอร์มากไปไม่ดีนะ!

อาจท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องผูก ท้องเสีย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร

Doctor Talk: อ่อนเพลีย สมองล้า รักษาได้ด้วย ONDAMED

ทำงานอยู่ทุกวัน ร่างกายคุณยังพร้อมอยู่มั้ย?

ร่างกายคนเราเหมือนเครื่องยนต์ เมื่อใช้งานอย่างเต็มที่ ก็ต้องมีเวลาหยุดพัก

เพราะหากใช้ร่างกายเกิดขีดจำกัด อาจมีสัญญาณความผิดปกติต่าง ๆ หรือเกิดความเจ็บป่วยได้

อย่ารอให้เกิดปัญหาสุขภาพ ก่อนแล้วค่อยมาแก้ไข ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษาด้วยคลื่นไฟฟ้า

โดยเครื่อง ONDAMED ที่สามารถ การรู้เท่าทันสภาวะร่างกายได้ทันที

ONDAMED ใช้คลื่นไฟฟ้ารักษาอย่างปลอดภัย

ONDAMED เป็นเครื่องมือฟื้นฟูสุขภาพที่อาศัยหลักการของคลื่นไฟฟ้าพลังงานต่ำ (Pulsed Electromagnetic Fields Therapy หรือ PEMF) ซึ่งเป็นคลื่นไฟฟ้าในระดับอ่อนใช้ในการตรวจสแกนร่างกาย เพื่อดูว่าเซลล์ร่างกายส่วนใดมีการทำงานที่ผิดปกติหรือเสียสมดุล โดยการใช้เครื่อง ONDAMED จะปรับจูนความถี่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไปเรื่อย ๆ หากพบความผิดปกติจะมีคลื่นตอบสนองกลับมา และจะส่งคลื่นพลังงานกลับไปกระตุ้นและฟื้นฟูในจุดที่มีความผิดปกติ เพื่อซ่อมแซมให้เซลล์นั้น กลับมาทำงานเป็นปกติดังเดิม

ONDAMED ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน

 

ONDAMED เหมาะกับใครบ้าง? 

การดูแลสุขภาพด้วย ONDAMED เป็นการเทคโนโลยีการแพทย์แบบ Energy Medicine ที่ช่วยในการรักษาและวินิจฉัยในเวลาเดียวกัน

ด้วยการใช้คลื่นพลังงานช่วยดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั่วร่างกายทุกอวัยวะ แต่มีข้อจำกัดในการใช้งานสำหรับหญิงตั้งครรภ์

ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงต่อทารกได้ หากผู้ใช้บริการมีโรคประจำตัวหรือข้อจำกัดทางสุขภาพ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยปรับเคมี

ปรับสมดุลร่างกายในการรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง และยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทราบสภาวะสุขภาพของตนเอง

หรือช่วยแก้ปัญหาสุขภาพที่เป็นอยู่ได้อย่างปลอดภัย

 

 

รักษาและฟื้นฟูสุขภาพถึงระดับเซลล์ ปรับสมดุลร่างกายให้กลับมาสุขภาพแข็งแรงด้วยเครื่อง ONDAMED ได้ที่
PREMIER LIFE CENTER โรงพยาบาลพญาไท 2 (ชั้น 8 อาคาร B)
Call Center 1772  

Doctor Talk: 4 อาการเสี่ยง หากผ้าปูที่นอนไม่สะอาด

ไม่ว่าจะเหนื่อยล้ามาแค่ไหน เราก็อยากจะทิ้งตัวลงบน “ที่นอน” เครื่องเยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจของเรา

แต่…บนผ้าปูที่นอนของเราอาจมีอันตรายซ่อนอยู่ ถ้าเราไม่รักษาความสะอาดให้ดี ก็อาจก่อความเสี่ยงทำให้คุณเป็นโรคได้

ฝุ่นเล็กจิ๋ว 0.1-0.3 มิลลิเมตร สามารถเข้าไปในร่างกายผ่านทางเดินหายใจได้ หากหายใจเอาไรฝุ่นหรือมูลไรฝุ่นเข้าไป

มักจะก่อให้เกิดอาการจมูกอักเสบ บวม ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไปจนถึงอาการหอบหืด เป็นต้น

ผ้าปูที่นอนที่มีเชื้อราสะสม การสัมผัสใกล้ชิดกับเชื้อราก่อโรคโดยตรง

อาจส่งผลให้เป็นโรคผิวหนัง อักเสบจากเชื้อราได้

ทั้งไรฝุ่นและเชื้อราสามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ทั้งทางเดินหายใจและตามผิวหนัง

ความรุนแรงของอาการแพ้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยอาจร้ายแรงลุกลามไปถึงโรคผิวหนังขั้นรุนแรง หรืออาการเยื่อบุในหลอดลมบวมได้

อาการโรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง และอาการภูมิแพ้ ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดความไม่สบายตัว เป็นปัญหาต่อการนอนหลับ

หากปล่อยไว้นาน ๆ จะทำให้เสี่ยงเป็นโรคที่คุณอาจคาดไม่ถึง เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดอุดตัน ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพลง เป็นต้น

การออกกำลังกายในแต่ละช่วงอายุต่างกัน ฟิตร่างกายให้เหมาะกับอายุตนเอง

การออกกำลังกายคือหนทางสู่การมีสุขภาพที่ดี  และมีประโยชน์สำหรับคนทุกวัย

ช่วยให้เลือดสูบฉีดได้ดี เพิ่มพลังสมอง ลดความเสี่ยงการเป็นโรค และช่วยลดภาวะสมองเสื่อมได้มากถึง 36% ในผู้สูงอายุได้

เชื่อว่าทุกคนอยากมีร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย แต่การออกกำลังกายแบบไหนที่จะได้ประโยชน์สูงสุด

มากกว่าการเพิ่มพูนสมรรถภาพ   ทางกาย  The Selection ขอแนะเทคนิคออกกำลังกายให้เหมาะสมแต่ละช่วงอายุ

รับรองว่าคุณจะมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่สมบูรณ์ แข็งแรงกว่าเดิมแน่นอน

กิจกรรมที่แนะนำ :  วิ่งเล่นไล่จับ ขี่จักรยานสามล้อ กระโดดเชือก เล่นโยน-รับลูกบอล

ร่างกายของเด็กจะมีการหลั่ง Growth Hormones ช่วยในการเจริญเติบโต การออกกำลังกาย เน้นการเล่นสนุกสนาน และคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ควรให้เด็กฝึกความเเข็งเเรงเเละความอดทน รวมถึงการเลือกออกกำลังกายแบบเล่นกีฬาหรือเล่นเกมเป็นทีมก็จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อ ให้เติบโตอย่างเต็มที่  และการฝึกสมาธิ รวมถึงการพัฒนาด้านอารมณ์ให้กับเด็กๆ ได้ด้วย

กิจกรรมที่แนะนำ : ฟุตบอล แบดมินตัน กระโดดเชือก บอดี้เวท ว่ายน้ำ

วัยที่มีความเเข็งเเรงของกล้ามเนื้อสูงที่สุด เเละอัตราการเผาผลาญดีที่สุด จึงเหมาะกับการออกกำลังกายและเล่นกีฬาทุกรูปแบบ  ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นและความแข็งแรงของกระดูกซึ่งมีผลต่อความสูงและอาจเพิ่มการสร้างกล้ามเนื้อด้วยการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในฟิตเนส  หากออกกำลังกายอย่างหนัก ควรกินอาหารและได้รับสารอาหารให้เพียงพอต่อพลังงานที่สูญเสียไป

กิจกรรมที่แนะนำ : ฟุตบอล แบดมินตัน กระโดดเชือก บอดี้เวท ว่ายน้ำ

วัยทำงานมักเป็นภาวะออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ บ่า ไหล่  โดยเฉพาะผู้นั่งโต๊ะทํางานเป็นเวลานาน  มีงานศึกษาวิจัยจำนวนมากพบว่าการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย  มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ  กระดูกสึกหรอ ระบบการเผาผลาญมีอัตราที่ลดลง จึงมีการสะสมของไขมัน ควรออกกำลังกายเพื่อช่วยป้องกันภาวะ Burn-out Syndrome ได้ออกไปทำอะไรใหม่ๆ ลดความเบื่อหน่ายจากการทำงาน แนะนำให้ออกกำลังกายตามสมรรถภาพคำนึงถึงสภาวะหัวใจ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และปอด หากไม่มีเวลา อาจเริ่มด้วยการเดินระยะสั้นหรือเดินขึ้นบันไดเข้าออฟฟิศระยะสั้นก่อนก็ได้

กิจกรรมที่แนะนำ : ฟุตบอล แบดมินตัน กระโดดเชือก บอดี้เวท ว่ายน้ำ

การออกกำลังกายในวัยนี้มีข้อจำกัด โดยเฉพาะการทำงานของหัวใจ เป็นวัยที่เหมาะกับการออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวง่ายๆ และมีจังหวะช้าๆ เน้นการควบคุมร่างกาย ความยืดหยุ่น เพื่อชะลอความเสื่อม ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดี ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ทำให้ร่างกายคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ฝึกการทรงตัว ลดความเสี่ยงการหกล้ม ทั้งนี้ ควรกำหนดระยะเวลาออกกำลังกายให้เหมาะสมกับที่ร่างกายพอรับไหวหรือไม่เกิน 30 นาที

ข้อมูลโดย นพ.วันชัย บุญญาภิรัตน์

เเพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกสันหลังเเละข้อ โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4

ออกกำลังกายแล้วร้อนแค่ไหนก็สู้ไหว

The Selection ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ให้ความเย็น พิเศษสำหรับคุณ

คลิกรับส่วนลดได้เลย

https://bit.ly/coolingproducts

Dr.Talk: สุขภาพดี..เด็กกว่าอายุจริงด้วยเวชศาสตร์ป้องกัน

 

 

 

 

เวชศาสตร์ป้องกัน เป็นการดูแลสุขภาพแบบ Personalized Medicine โดยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จากสหสาขาวิชาชีพ

ร่วมกันประเมินผลและวิเคราะห์ จากข้อมูลและประวัติสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล ช่วยวิเคราะห์ร่างกายลงลึกในระดับเซลล์

ด้วยวิธีการตรวจรูปแบบต่างๆ โดยเหมาะสำหรับกลุ่มคนที่สุขภาพดี แต่ต้องการทราบสภาวะร่างกายในเชิงลึก

และกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวที่ต้องการปรับอาหารและการใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับโรคที่เป็น

 

 

          Telomere คือจุดปลายสุดของโครโมโซม มีหน้าที่ป้องกันรหัสพันธุกรรม ไม่ให้ถูกทำลายก่อนวัยอันควร

เมื่อแรกเกิดจะมีขนาดที่ยาว 10,000 คู่เบส (Base Pair) และหดสั้นลงเฉลี่ยปีละ 25-50 คู่เบสตามอายุ

จนเหลือเพียง 4,000 คู่เบสเมื่ออายุ 100 ปี โดยการดูแลสุขภาพด้วยเวชศาสตร์ป้องกัน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยง Telomere หดสั้นลง

 

 

การตรวจวินิจฉัยตามแนวทางเวชศาสตร์ป้องกันยังมีรายการในหมวดอื่นๆ ตามความต้องการ

โดยดูแลตั้งแต่การประเมินทางด้านพันธุกรรม แนะนำด้านโภชนาการ ช่วยวางแผนไลฟ์สไตล์และการออกกำลังกาย

ทั้งหมดนี้เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ ป้องกันไม่ให้เกิดโรค ด้วยการรักษาสมดุลของร่างกาย และจิตใจให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีไปพร้อมๆ กัน

 

 

ศูนย์พรีเมียร์ไลฟ์ เซ็นเตอร์ โรงพยาบาลพญาไท 2 ชั้น 8 อาคาร B 

โทร. 02-617-2444 ต่อ 3857 หรือ Call Center 1772

 

Doctor Talk : ปีใหม่กับฉันคนใหม่ สร้างสุขภาพดีด้วยโปรแกรม All You Can Check

Doctor Talk: ปีใหม่กับฉันคนใหม่ สร้างสุขภาพดี ด้วยโปรแกรม All You Can Check 

โดย พญ.พรทิพย์ อยู่ในศิล

แพทย์ศูนย์ตรวจสุขภาพเฉพาะทาง ด้านโภชนาการและเวชศาสตร์ป้องกัน โรงพยาบาลพญาไท 3

ปีใหม่นี้ หลายๆ คนน่าจะตั้งเป้าหมายอะไรใหม่ๆ  ตั้งใจอยากให้ตัวเองเป็นคนใหม่ในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือ    การมีสุขภาพที่ดี หลายคนคิดว่าการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี น่าจะเป็นการสำรวจสุขภาพตัวเองที่ดีอยู่แล้ว แต่อาการหรือโรคที่เราอาจคาดไม่ถึง ไม่อาจพบได้ด้วยการตรวจในขั้นพื้นฐาน  หากเราไม่รู้ อาจจะมีความเสี่ยงที่ส่งผลรุนแรงในอนาคตก็เป็นได้

ไลฟ์สไตล์ สามารถบ่งบอกที่มาของโรคได้

ร่างกายที่เราใช้มาตลอดปี หากไม่ดูแลให้ดีก็จะสึกหรอไปตามกาลเวลา แต่ละคนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ ไม่เท่ากันตามรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น บางคนชอบกิน Fast Food  ชาบู หมูกระทะ เป็นประจำ, การเป็นคนไม่ชอบออกกำลังกาย  เพราะด้วยชีวิตการทำงานที่เร่งรีบ ไม่มีเวลาทำสิ่งอื่น หรือบางคนเป็นสายปาร์ตี้       สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ  รวมไปถึงการทำงานหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน แม้จะกินอาหารดีมีประโยชน์มากเพียงใด ถ้าร่างกายไม่ได้พักผ่อน     ก็มีสิทธิ์เป็นโรคร้ายได้เหมือนกัน

โรคอ้วน เบาหวาน ไขมัน ความดัน พนักงานออฟฟิศ เสี่ยงสุด!

ความเจ็บป่วยที่พนักงานออฟฟิศพบเจอบ่อย คือ โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเหล่านี้ คือ กลุ่มโรค Metabolic Syndrome คือ  ภาวะที่เกิดจากระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง น้ำหนักตัวเกิน น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งภาวะต่างๆ เหล่านี้ เมื่อเป็นนานๆ เข้าก็จะส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต        ตามมาได้

สร้างเป้าหมายการมีสุขภาพที่ดีเยี่ยม ด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

โรคร้ายมักไม่แสดงอาการในช่วงแรก จนกว่าจะเริ่มมีอาการรุนแรง พอถึงตอนนั้นก็อาจสายเกินแก้ การรู้เท่าทันสภาวะร่างกายของตัวเองจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรตระหนัก ดังนั้น การตรวจสุขภาพจึงเป็นการป้องกันและรู้ทันโรคหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเรา เรียกได้ว่า ป้องกันก่อน รักษาได้เร็วกว่า เพื่อสำรวจร่างกายว่าเราควรดูแล แก้ไข หรือรักษาโรคใดอย่างต่อเนื่องน่าจะเป็นการสร้างสุขภาพที่ดีได้อีกแนวทางหนึ่ง

ALL YOU CAN CHECK เครื่องมือที่จะช่วยให้คุณไปถึงทุกเป้าหมายสุขภาพดีที่คุณตั้งใจ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร 1772

เรียบเรียงข้อมูลจาก

การบรรยายความรู้กิจกรรม Doctor Talk: หัวข้อ ตรวจสุขภาพตามไลฟ์สไตล์ที่ชอบ

โดย พญ.พรทิพย์ อยู่ในศิล แพทย์ศูนย์ตรวจสุขภาพเฉพาะทาง ด้านโภชนาการและเวชศาสตร์ป้องกัน โรงพยาบาลพญาไท 3

Doctor Talk ! เช็กสุขภาพ ปวดต้นคอและหลังไม่ใช่เรื่องปกติ

ผู้หญิงกำลังปวดหลังเรื้อรัง และอยากหาวิธีแก้ปวดลดความเสี่ยง

เมื่อพูดถึงปัญหาสุขภาพวัยทำงาน หลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงโรคออฟฟิศซินโดรมเป็นหลัก จนทำให้ละเลยอีกหนึ่งปัญหาสำคัญอย่าง “โรคหมอนรองกระดูกหลังเสื่อม” ไปเสียสนิท เนื่องด้วยปัจจัยประกอบหลายอย่างที่ทำให้คุณคาดไม่ถึง ทั้งช่วงอายุที่ยังน้อย สภาพร่างกายที่ดูผิวเผินก็ยังแข็งแรง จนทำให้มองข้ามสัญญาณเตือนเล็ก ๆ บางประการ เช่น อาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่ และอาการปวดหลังช่วงบน รวมไปถึงอาการร้าวไปที่แขน ขา บางรายรุนแรงถึงขั้นมีอาการชา ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการจัดวางท่าทางขณะนั่งทำงานไม่ถูกวิธี และทำจนเคยชิน โดยพฤติกรรมเหล่านี้ อาจกลายเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อได้ !

ผู้หญิงกำลังปวดหลังเรื้อรัง และอยากหาวิธีแก้ปวดลดความเสี่ยง

ปวดต้นคอ ปวดหลัง หากรู้ทัน ลดเสี่ยงอันตรายได้

ปวดคอ หรือมีอาการปวดหลังส่วนบนตรงกลาง จนร้าวลงแขน อาจมีสาเหตุเกิดจาก 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ

  1. “อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ” สามารถเกิดได้ตั้งแต่อาการปวดต้นคอ ไปจนถึงอาการปวดหลังส่วนบนตรงกลางรวมถึงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ที่จะแสดงออกมาเป็นอาการปวด เกร็ง ไม่สามารถขยับหลังได้ตามปกติ หรือมีอาการเจ็บเมื่อบิดหรือแอ่นตัวในบางครั้ง
  2. “อาการปวดจม” ที่จะแสดงออกมาเป็นอาการปวดร้าว ลามไปถึงแขน ข้อศอก หรือมือ ในบางเคสอาจพบว่ามีอาการชาร่วมด้วย โดยลักษณะดังกล่าวมักจะถูกพบว่าเป็นการปวดของเส้นประสาทบริเวณไขสันหลัง ที่อาจจะเกิดการอักเสบหรือถูกกดทับ ท้ายที่สุด จะนำไปสู่การเกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หรือมีหินปูนเกาะบริเวณกระดูกสันหลังเข้าไปกดเส้นประสาท และจะมีภาวะอ่อนแรงในผู้ที่มีอาการรุนแรงได้

นอกจากนี้ ยังมีอาการปวดหลัง ร้าวลงขา ซึ่งเกิดจากการที่เส้นประสาทถูกกดทับ จนทำให้รู้สึกปวดร้าวลงสะโพก ลงขา โดยส่วนมากอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือเคลื่อนไปทับเส้นประสาท และมีหินปูนหรือกระดูกทับเส้นประสาท เป็นต้น

ปวดหลังช่วงบน ปวดต้นคอ บ่า ไหล่ อาจ “ไม่ใช่” แค่อาการออฟฟิศซินโดรม

สำหรับผู้ที่ยังรู้สึกสับสน และคิดไปเองว่าอาการที่กำลังเผชิญอยู่ อาจเป็นเพียงอาการออฟฟิศซินโดรมที่คุ้นชิน ลองมาดู 4 เช็กลิสต์อาการปวดต้นคอและหลังที่บ่งชี้ว่าเป็นมากกว่า “ออฟฟิศซินโดรม” แต่อาจจะกำลังเผชิญหน้ากับโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม/ทับเส้นประสาทอยู่ก็เป็นได้

  • มีอาการปวดหลังช่วงบนเรื้อรังยาวนานกว่า 2-4 สัปดาห์
  • มีอาการปวดหลังร้าวลงขา อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง หากปล่อยทิ้งไว้จนเป็นหนักขึ้น กล้ามเนื้อขาจะอ่อนแรง ควบคุมการเดิน และการขับถ่ายไม่ได้
  • มีอาการปวดต้นคอร้าวลงแขน แขนอ่อนแรง หรือชา ไปจนถึงไม่สามารถควบคุมการใช้มือได้
  • เวลาไอ จาม หรือเบ่งจะรู้สึกปวดลึก เนื่องจากเกิดแรงดันในไขสันหลัง

หากคุณมีอาการหนึ่งในสี่ข้อเช็กลิสต์นี้ สิ่งแรกที่ควรทำทันทีคือการไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการตรวจร่างกายและประเมินอาการ รวมถึงการเข้ารับการตรวจ MRI หรือ CT Scan เพื่อวินิจฉัยระดับความรุนแรงและแนวทางการรักษาตามความเหมาะสม

3 แนวทางชะลออาการปวดคอปวดหลัง วิธีแก้และป้องกันในระยะยาว

  • ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย ลดอาการเสี่ยงที่ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ หรือเกิดอาการปวดคอ ปวดหลัง เนื่องจากการนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ อาจเสี่ยงต่ออาการปวดเมื่อยได้ โดยในทุก ๆ 1 ชั่วโมง ควรลุกขึ้นเพื่อยืดเส้นยืดสาย ก็จะช่วยคลายกล้ามเนื้อไม่ให้ตึงจนเกินไป
  • ปรับท่าทางการนั่งให้ถูกตามหลักการยศาสตร์ เลือกใช้อุปกรณ์ออฟฟิศที่รองรับกับสรีระได้อย่างเหมาะสม เช่น เก้าอี้ทำงาน โต๊ะทำงาน ตลอดจนการจัดวางคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลต่อท่านั่ง โดยการเลือกนวัตกรรมสินค้าเพื่อสุขภาพที่ออกแบบมาสำหรับชาวออฟฟิศโดยเฉพาะ เพื่อชะลอและลดความเสี่ยงจากอาการปวดเมื่อย ที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงไปจนถึงหมอนรองกระดูก
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นออฟฟิศซินโดรมให้น้อยลง แต่ก็ควรจะเลือกประเภทกีฬาและการออกกำลังกายให้เหมาะสม ไม่เลือกประเภทที่ปีนป่าย หรือมีระดับความเอ็กซ์ตรีมมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และกระดูกได้

แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูก แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว

  • การผ่าตัดโดยวิธีใช้กล้อง Endoscope เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก มีเลนส์รับภาพอยู่ตรงปลายท่อสอดเข้าไปในตัวผู้ป่วย สามารถมองเห็น อวัยวะต่างๆ ของผู้ป่วยได้ชัดเจน ขนาดแผลประมาณ 7-8 มิลลิเมตร
    การผ่าตัดโดยวิธีใช้กล้อง Microscope เป็นการใช้กล้องขยายภาพในบริเวณที่ทำการผ่าตัด กล้องจะอยู่ด้านนอกตัวผู้ป่วย สามารถมองเห็นและทำการผ่าตัด ได้ละเอียดชัดเจน วิธีนี้ใช้สำหรับการผ่าตัดกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือเป็นบริเวณใหญ่ ขนาดแผลประมาณ 2.5 เซนติเมตร

กายบริหาร ช่วยลดอาการปวดต้นคอและปวดหลัง

 

Tips ท่ากายบริหาร ! บอกลาอาการปวดต้นคอและหลัง

  • ยืดกล้ามเนื้อต้นคอ เอียงคอไปด้านซ้ายและขวา เลือกข้างใดข้างหนึ่งก่อน จากนั้นให้เอียงสุดจนรู้สึกตึงบริเวณต้นคอ และใช้มืออีกข้างช่วยกดยืดกล้ามเนื้อ ค้างไว้ 10-15 นาที จากนั้นเปลี่ยนข้าง สลับทำ 2-3 รอบต่อครั้ง ก็จะช่วยลดอาการปวดต้นคอได้ดี
  • ยืดกล้ามเนื้อแขนและไหล่ ยืดแขนซ้ายไปทางขวา จากนั้นใช้แขนขวาพันขึ้นมารัดแขนซ้าย ก่อนจะดันเข้าหาตัวและล็อกไว้เป็นเครื่องหมายบวก ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที จากนั้นให้สลับข้าง ทำในเวลาเท่า ๆ กัน เพื่อบรรเทาอาการปวดตึงบริเวณแขนและไหล่ให้ทุเลาลง
  • ยืดกล้ามเนื้อหลังและสีข้าง เริ่มจากการยกแขนขวาขึ้น แล้วพับข้อศอกลงให้แขนพาดไปทางหลังศีรษะ โดยที่มือแตะบริเวณไหล่ซ้าย จากนั้นให้ใช้มือซ้ายจับซอกขวา และดึงไปทางซ้ายจนตึง ค้างไว้ 10-15 วินาที ครบแล้วให้สลับข้างทำซ้ำ
  • บริหารกล้ามเนื้อสะโพก บรรเทาอาการปวดตึงช่วงสะโพก โดยเริ่มจากการนั่งบนเก้าอี้ และให้ยกเท้าซ้ายมาวางทับเหนือเข่าขวา จากนั้นเอนตัวมาด้านหน้าจนตึงต้นขาซ้าย จากนั้นค้างไว้ 10 วินาที สลับข้างทำในเวลาเท่า ๆ กัน เพื่อบริหารกล้ามเนื้อสะโพกไม่ให้กดทับเส้นประสาทจนเกิดอาการปวด เหน็บชาลงขาและเท้าได้

ป้องกันอาการปวดคอและหลัง ต้นเหตุที่นำไปสู่อาการป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกและออฟฟิศซินโดรม ด้วยผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพที่ The Selection ตัวช่วยนวัตกรรมสินค้าเพื่อสุขภาพที่คัดสรรมาเป็นอย่างดีโดยบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมรองรับทุกอากัปกิริยาและสรีระ ให้คุณสามารถนั่งทำงานได้อย่างมั่นใจ ดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์และส่วนลดพิเศษเพิ่มเติมได้ที่หน้าเว็บไซต์ของเรา

 

 

 

 

 

 

 

เรียบเรียงโดย นพ. ธีรศักดิ์ พื้นงาม

ศัลยแพทย์ด้านสมอง และระบบประสาทไขสันหลัง

แพทย์หัวหน้าศูนย์ดูแลกระดูก กระดูกสันหลังแบบผสมผสาน

โรงพยาบาลพญาไท 1

Doctor Talk : เช็กสุขภาพหลังหายจากโควิด-19 หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบพบแพทย์

Doctor Talk

เช็กสุขภาพหลังหายจากโควิด-19 หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบพบแพทย์

เช็กสุขภาพหลังหายจากโควิด-19 หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบพบแพทย์เมื่อรักษาโรคโควิด-19 จนหายดี คือตรวจไม่พบเชื้อในร่างกายแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจยังรู้สึกว่ามีอาการบางอย่างหลงเหลืออยู่ หรือบางครั้งก็มีอาการที่เคยเป็นกลับมาใหม่เมื่อกลับไปบ้านแล้ว ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวะอ้วน และผู้ที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคเบาหวาน และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น โดยอาการที่ยังหลงเหลือนี้ เราเรียกว่า ลองโควิด (Long COVID)  ซึ่งเป็นอาการที่เกิดกับผู้ป่วย      โควิด-19 หลังจากได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ ไปจนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป

อาการลองโควิด (Long COVID) ที่พบบ่อย

• อ่อนเพลียเรื้อรัง
• เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
• ปวดศีรษะ
• ความจำผิดปกติ

• ไอ เจ็บแน่นหน้าอก
• หายใจลำบาก หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม
• สมาธิจดจ่อลดลง

• จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
• ท้องร่วง ท้องเสีย
• ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ
• ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล

      ดังนั้น หากท่านมีอาการต่างๆ เหล่านี้ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน โปรดอย่านิ่งนอนใจ ให้รีบไปพบแพทย์เฉพาะทางจะดีกว่า ทั้งนี้ ที่ศูนย์อายุรกรรม รพ.พญาไท 2 พร้อมดูแลทุกท่าน โดยสามารถสอบถามและนัดหมายแพทย์ล่วงหน้าได้ทาง HealthUp Application หรือ โทร. 02-617-2444 ต่อ 5418, 5419 ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00–19.00 น.