Preparation : COVID-19 ปรับเปลี่ยนความคิดเพื่อชีวิตใหม่ ให้พร้อมรับมือกับชีวิตที่ไม่มีวันเหมือนเดิมไปตลอดกาล

   ปรับชีวิตวิถีใหม่เพื่ออยู่ร่วมกับโรคระบาด อาจจะเป็นสิ่งที่ หลายคนต่างก็คาดการณ์กันไว้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิต ในที่ทำงาน ณ ปัจจุบัน ได้มีการยกเลิกมาตรการล็อคดาวน์ และเปิดพรมแดนให้ทุกคนสามารถเดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ได้มากขึ้น ทำให้หลายคนเริ่มที่จะปรับตัว และใช้ชีวิตกันอย่างปกติ ถือว่า เป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญต่อการปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ของพวกเราทุกคน แต่ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม เพราะการออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับชีวิตวิถีใหม่ และแนวทางต่างๆ เพื่ออยู่ร่วมกับโควิดต่อไป

 

          หลังจากที่ทุกอย่างเริ่มกลับมาเป็นปกติ เราสามารถออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านได้มากขึ้น และแน่นอนว่า เราไม่สามารถเลี่ยงการพบปะผู้คนได้  อาจนำมาซึ่งความวิตกกังวลคิดมาก เสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตตามมา แต่ความวิตกกังวลนั้นเองก็ยังมีข้อดีที่จะช่วยเปลี่ยนความคิดที่ว่า “เปลี่ยนความวิตกกังวล ให้เป็นเกราะป้องกัน” เช่น เมื่อเราไปยังสถานที่สุ่มเสี่ยง เราจะเกิดความวิตกกังวลขึ้นมาว่า เราจะได้รับเชื้อหรือไม่ ทำให้เราคิดถึงการระวังป้องกันตัวจาก  โควิด เพียงเท่านี้คุณสามารถลดความวิตกกังวลได้ เพราะหากคุณสามารถจัดการกับความกังวลเหล่านี้ได้ จะไม่เพียงช่วยให้ตัวคุณเองปลอดภัย แต่ยังช่วยให้    คนรอบตัวปลอดภัยอีกด้วย

           เพราะวันเวลาไม่เคยหยุดรอใคร… โรคระบาดพรากเวลาของเราไปเกือบ 3 ปี ถึงเวลาแล้วที่เราต่างก็ต้องกลับไปใช้ชีวิต เอาเวลาที่เสียไปคืนมา สิ่งที่เกิดขึ้น อาจทำให้เรานั้นหมดไฟในการดำเนินชีวิต ในการทำงาน รวมถึงเป้าหมายในอนาคต โดยเราขอเสนอ การจัดตารางเวลา 8 : 8 : 8 เพื่อสร้างสมดุลให้กับชีวิตและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีหลักการแบ่งเวลา ดังนี้

8 ชั่วโมง   สำหรับการทำงาน
8 ชั่วโมง   สำหรับการผ่อนคลายหรือนันทนาการ เช่น ทำงานอดิเรก ใช้เวลาอยู่กับคนที่คุณรัก
8 ชั่วโมง   สำหรับการนอนหลับพักผ่อน

             มนุษย์ทุกคนมีความเคยชินกับการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของพวกเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เราต้องเว้นระยะห่างเพื่อควบคุมโรค และสิ่งที่ทดแทนความเหงาของเราในสถานการณ์เช่นนี้คือ สื่อโซเชียลออนไลน์ต่างๆ ที่สามารถสร้างความบันเทิงใจให้คลายเหงาได้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สื่อออนไลน์มีทั้งด้านที่ดีและไม่ดี หากเราใช้งานมากเกินไปหรือใช้ผิดวิธี อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เพราะฉะนั้นอย่าลืมปรับความสมดุลในชีวิต แบ่งเวลาใช้ชีวิตแบบออนไลน์ ออฟไลน์ กับเพื่อนฝูงและคนที่คุณรักกันอย่างเหมาะสม

              โรคระบาดที่เกิดขึ้นกระทบกับการใช้ชีวิต และสร้างปัญหาตามมาอย่างมากมาย เช่น เศรษฐกิจ รายได้ การทำงานและการใช้ชีวิต ทำให้กระทบต่อความรู้สึก ความเครียด และสภาพจิตใจ อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในอนาคตได้ วิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับความรู้สึกเหล่านี้คือการรับรู้ตัวเองว่ารู้สึกเช่นไร เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจที่มาของความรู้สึกเหล่านั้น ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะสาเหตุใด เมื่อคุณปล่อยให้ตัวเองเข้าใจความรู้สึกทั้งหมดที่เกิดขึ้น คุณก็จะยอมรับ และก้าวผ่านความรู้สึกนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นอย่าลืมสังเกตความรู้สึกและจัดการความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอๆ

                สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน การยอมรับได้เร็วก็จะสามารถปรับตัวได้เร็ว ทำให้มองเห็นโอกาสหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นการหาความรู้เพิ่มเติม การพัฒนาทักษะใหม่ๆ นับเป็นเรื่องที่ดีต่อตนเอง อีกทั้งยังสามารถส่งต่อเป็นความรู้ให้กับผู้อื่นได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย แม้แต่ละคนจะแตกต่างกันแต่ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ในพื้นที่แห่งความเข้าใจ ฉะนั้นอย่าลืมสร้างสมดุลทางความคิด ใช้ชีวิตอยู่บน    ความปลอดภัย และเข้าใจซึ่งกันและกันท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้

Preparation : จัดตารางชีวิตดี สุขภาพดีต้อนรับปี 2022 อย่าง Productive

               

“ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย กับ 5 พฤติกรรมที่ควรปรับ ควรเปลี่ยน

เพื่อไปสู่ชีวิตดีๆ สุขภาพดีๆ และยังมีความ Productive ในทุกๆ วัน ตลอดปี!”

     

เปลี่ยนชีวิตให้ไหลลื่นด้วยการดื่มน้ำให้บ่อยขึ้นจนเป็นนิสัยโดยอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะน้ำช่วยในเรื่องของระบบการขับถ่าย  พร้อมทั้ง                                  รักษาระดับความเข้มข้นของเลือด หล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย ให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดชื่น สดใส ตลอดทั้งวัน    

  

กินดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะแต่ละอย่างที่เรารับประทานเข้าไปนั้นล้วนสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกมื้อนั้น

                                 เป็นเรื่องที่ดีและควรทำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ในทุกวัน โดยเริ่มจาก

                                 • ปรับลดสัดส่วนในการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ โดยพยายามทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ 

                                 • เลือกรับประทานโดยเน้นประเภทผัก และผลไม้ต่างๆ ให้ครบ 5 สี เพิ่มวิตามินและแร่ธาตุอย่างครบถ้วน เพราะบางครั้งอาหารที่ปรุงสำเร็จ                                        ในปัจจุบันนั้นมีปริมาณผักค่อนข้างน้อย

                                 • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารรสจัด

 

เปลี่ยนข้ออ้างเรื่องไม่มีเวลาต่างๆ เป็นการขยับนิด ออกแรงหน่อย อย่างน้อยวันละ 30 นาที เพราะการออกกำลังกายนั้นจะช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักและน้ำตาลในเลือด ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น ลดความเครียดสะสมและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง เพราะเราต้องใช้ร่ายกายของเราทุกวัน ดังนั้นอย่าลืมดูแลร่างกายของเราให้แข็งแรงและ Productive อยู่เสมอ

งานดีแค่ไหน อย่าลืมให้ความสำคัญกับสุขภาพด้วย ปรับการใช้ชีวิตประจำวันควบคู่ไปกับความคิดของเรา หา “Work Life Balance” ที่ดีเพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยเริ่มต้นจาก

• หาจุดพอดีให้ได้ ปรับสมดุลการทำงาน โดย 60% แบ่งให้กับการทำงาน อีก 40% แบ่งเวลาไว้พักผ่อน

                                          • ดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง เพราะสองสิ่งนี้ควรปรับให้สมดุลควบคู่กันไป 

                                          • หากิจกรรมที่ทำให้ตัวเองมีความสุข เมื่อหมดเวลางานให้ปล่อยวางบ้าง แล้วออกไปใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการ เช่น                                                                 ไปพบปะเพื่อนฝูง เดินทางไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด ทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ หรือหากิจกรรมใหม่ๆ ก็จะช่วยปรับสมดุลให้ชีวิต                                                       Happy ขึ้นได้ 

อย่าลืมให้เวลากับการนอนหลับอย่างเพียงพอ เพราะมนุษย์เราไม่ใช่เครื่องจักร ควรจะมีเวลาให้ร่างกายและจิตใจได้หยุดพักผ่อน การนอนให้ได้ประสิทธิภาพนั้นควรนอนให้ได้ 8-10 ชั่วโมง การเข้านอนแต่หัวค่ำสามารถทำให้เราพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำได้ ดังนั้นเรามีวิธีปรับการนอนง่ายๆ เพื่อช่วยให้เรามีเวลาพักผ่อนได้มากขึ้น

                                               • ออกกำลังกายช่วงเย็นอย่างน้อย 30 นาที

                                               • อาบน้ำอุ่น เดินเบาๆ ไปมา หรือนั่งทำสมาธิก่อนเข้านอน ไม่ควรทำกิจกรรมที่กระตุ้นร่างกายและสมองไปจนถึงเวลาเข้านอน

                                                • หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก ก่อนเข้านอน 4 ชั่วโมง

                                                • รู้สึกง่วงเมื่อไร ให้เตรียมตัวนอนเมื่อนั้น อย่าพยายามฝืนไม่เข้านอน

                                                • จัดระเบียบห้องนอน และกำจัดสิ่งรบกวน ปิดไฟและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ 

สัญญาณเตือนเด็กทารกไม่สบาย และอุปกรณ์ในการดูแลเด็กป่วย

เด็กทารกไม่สบายกำลังร้องไห้

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่แล้ว คงต้องยอมรับว่าการดูแลลูกวัยแรกเกิดไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะในยามเจ็บป่วย เนื่องจากลูกน้อยไม่สามารถพูดบอกอาการได้เอง จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องเรียนรู้พร้อมสังเกตความผิดปกติเบื้องต้นที่บ่งบอกว่าเด็กแรกเกิดไม่สบาย เพื่อให้สามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที

 

10 วิธีสังเกตทารกไม่สบาย ที่ควรรีบไปพบแพทย์

เมื่อเด็กทารกไม่สบายสามารถแสดงอาการให้เห็นได้หลากหลายรูปแบบ โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด และหากเห็นถึงความผิดปกติ จะได้รีบรักษาได้อย่างทันท่วงที

1. ซึม ไม่ดูดนม

หากทารกอายุตั้งแต่ 1 เดือนและกินน้อยลง หรือไม่ยอมดูดนมเลย รวมถึงลูกมีอาการซึมและนอนทั้งวัน ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง เป็นสัญญาณสำคัญที่บ่งบอกว่าลูกน้อยกำลังไม่สบาย ควรเช็กว่าลูกมีอาการไข้ร่วมด้วยหรือไม่ แล้วรีบพาไปพบแพทย์

2. ท้องอืด ท้องเสีย

ถ้าเด็กมีอาการท้องอืด ท้องแข็ง ผายลมบ่อย อาจมีสาเหตุมาจากการกลืนลมเข้าไปมากในระหว่างการดูดนม ให้ลองจับลูกน้อยเรอด้วยท่านั่งหรือท่าอุ้มพาดบ่า แต่หากพบว่าเด็กงอแง อาเจียน และมีไข้ร่วมด้วย ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
ในส่วนอาการท้องเสียจะสังเกตได้จากการที่เด็กถ่ายเหลวผิดปกติ และถ่ายมากกว่า 1 ครั้งหลังจากการดูดนมในแต่ละรอบ ซึ่งต้องคอยเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะเสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่าย และหากพบว่ามีมูกเลือดปนในอุจจาระ ควรรีบพาไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

3. ผื่นหรือรอยแดงตามตัว

ผื่นหรือรอยแดงตามตัวอาจเป็นสัญญาณของอาการแพ้ ผื่นผ้าอ้อม ผิวหนังอักเสบ หรือการติดเชื้อ หากผื่นมีลักษณะเป็นตุ่มหนอง มีน้ำไหล หรือมีไข้ร่วมด้วย ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาให้เร็วที่สุด

4. อาเจียน

สำหรับเด็กทารกแรกเกิด อาจมีอาการแหวะนมบ้างเล็กน้อย หลังจากการดูด แนะนำให้ลองจับลูกเรอ เพื่อช่วยไล่ลมออก แต่หากพบว่ามีการแหวะนมออกมาในปริมาณมาก หรือบ่อยครั้ง รวมถึงมีสีเขียวปนออกมา ควรพาไปพบแพทย์

5. มีไข้

ในทุก ๆ วัน คุณพ่อคุณแม่ควรเช็กอุณหภูมิร่างกายของลูกว่าเป็นปกติหรือไม่ ซึ่งถ้าพบว่าลูกมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ให้ลองวัดอุณหภูมิซ้ำ หากไข้ยังสูงอยู่ ให้ทำการเช็ดตัวลูก และรีบพาไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากมีความเสี่ยงที่เด็กจะเป็นไข้หวัด หรือมีอาการติดเชื้อรุนแรง

6. ตัวเหลือง

หลังจากการคลอดประมาณ 2 สัปดาห์ หากพบว่าเด็กมีภาวะตัวเหลืองผิดปกติ อาจเกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือเป็นสัญญาณของภาวะดีซ่าน ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

7. ฝ้าขาวในปาก

ฝ้าขาวในปากของลูก อาจเกิดได้จากคราบนม ซึ่งสามารถเช็ดออกได้ด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่น แต่ถ้าสังเกตเห็นว่าลูกดูดนมได้น้อยลง หรือไม่ยอมดูดนม อาจบ่งบอกได้ว่าฝ้าขาวในปากของลูก เกิดจากเชื้อรา ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา

8. มีน้ำไหลจากหู

หากเด็กทารกมีอาการหูบวมแดง มีน้ำหรือของเหลวที่ไหลออกจากหู อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในหูชั้นกลาง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการ และหาแนวทางในการรักษา

9. เหนื่อยหอบ หายใจดัง

เด็กทารกหายใจแรง หายใจเสียงดัง หรือมีจังหวะการหายใจผิดปกติ มีเสียงครืดคราด เป็นสัญญาณว่าเกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม

10. ชักเกร็ง

อาการชักในทารก ซึ่งเกิดจากมีไข้สูง หรือมีความผิดปกติทางระบบประสาท เป็นสัญญาณของภาวะฉุกเฉิน คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยเฝ้าระวัง และรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

ปรอทวัดไข้เป็นของใช้สำหรับเด็กทารกไม่สบาย

แนะนำของใช้ทารกแรกเกิด เพื่อดูแลเมื่อมีอาการป่วย

  • ปรอทวัดไข้ ควรเลือกปรอทดิจิทัลที่มีความแม่นยำสูง และใช้งานง่าย เหมาะสำหรับทารก
  • ผ้าเช็ดตัวลดไข้ ควรเลือกเป็นผ้าเนื้อนุ่ม ไม่ระคายเคืองผิวเด็ก จำเป็นต้องมีติดบ้านไว้เสมอ
  • น้ำเกลือพ่นจมูก อุปกรณ์จำเป็นในการดูแลเด็กแรกเกิดไม่สบาย ช่วยทำความสะอาดโพรงจมูก และบรรเทาอาการคัดจมูกในทารก
  • ที่ดูดน้ำมูก ของใช้เด็กอ่อนซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นอุปกรณ์สำหรับดูดน้ำมูกโดยเฉพาะ ช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวกขึ้น
  • เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว อุปกรณ์ที่ช่วยตรวจสอบระดับออกซิเจนในเลือด โดยเฉพาะเมื่อทารกมีอาการหอบหรือหายใจผิดปกติ

การสังเกตอาการผิดปกติในทารกแรกเกิดเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ หากพบสัญญาณเตือนใด ๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้ลูกน้อยได้รับการดูแลรักษาและหายป่วยได้อย่างรวดเร็ว สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่สนใจเกร็ดความรู้สั้น ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของเรา ที่จะมีมาอัปเดตให้อ่านกันเป็นประจำ

แต่นอกจากบทความสุขภาพดี ๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถเพิ่มความมั่นใจในการเฝ้าระวังและติดตามอาการป่วย รวมถึงดูแลสุขภาพของลูกน้อย ด้วยอุปกรณ์สำหรับทารกแรกเกิดคุณภาพจาก The Selection พร้อมรับโปรโมชันดี ๆ คลิก https://www.theselectionth.com/product-category/babyandkids/

 

แหล่งข้อมูล

การเฝ้าระวังสุขภาพเด็กทารก (แรกเกิดถึง 3 เดือน). สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568 จาก https://www.fhs.gov.hk/english/other_languages/thai/child_health/new_born/15667.html