เชื่อได้เลยว่าผู้ปกครองหลาย ๆ ท่าน มักจะรู้สึกใจบางเมื่อเห็นเด็กน้อยวัยกำลังโตเริ่มมีแก้มยุ้ย ๆ ให้บีบ ดูจ้ำม่ำ เต็มไม้เต็มมือ หรืออีกนัยหนึ่งก็คิดว่าเป็นเด็กที่ดูแข็งแรง สมบูรณ์ดี จึงทำให้พ่อแม่อีกหลาย ๆ บ้าน เลือกที่จะวางบรรทัดฐานนี้ไว้ เพื่อใช้เลี้ยงลูกให้โตอย่างอุดมสมบูรณ์ ด้วยการป้อนอาหารให้กินเยอะ ๆ กินเผื่อหิวในมื้ออื่น จนลืมคำนึงถึงความพอดี
แต่รู้หรือไม่ ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นตัวการสำคัญทำให้ลูกรักของคุณต้องเผชิญหน้ากับ “โรคอ้วนในเด็ก” หนึ่งในโรคที่พบได้บ่อย ทั้งยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกในระยะยาว หากไม่อยากจะต้องรับมือกับโรคดังกล่าว ลองมาทำความเข้าใจ พร้อมเรียนรู้โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อยกัน
4 สาเหตุการเกิดโรคอ้วนในเด็ก
ผู้ปกครองหลายคนอาจสงสัยว่าโรคอ้วนเกิดจากอะไร ในเมื่อลูกน้อยของคุณยังคงอยู่ในวัยที่เผาผลาญได้ดี แต่จริง ๆ แล้ว เด็ก ๆ ก็มีโอกาสเผาผลาญได้ไม่ดีเช่นกัน เพราะเกิดจากปริมาณอาหารที่ทานเข้าไป และพลังงานที่ใช้นั้นไม่สมดุลกัน จนนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วนในเด็กในที่สุด
โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาระบบเผาผลาญที่ไม่สมบูรณ์ในเด็กนั้นก็มีอยู่มากมาย แต่สามารถสรุปออกมาได้ทั้งหมด 4 ข้อสำคัญ ดังนี้
- พันธุกรรม ในบางรายอาจมีการถ่ายทอดโรคอ้วนผ่านทางพันธุกรรม ร่วมกับสิ่งแวดล้อม เช่น ที่บ้านมีประวัติผู้ปกครองมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ประกอบกับการเลือกรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไป หรือไม่มีประโยชน์ เป็นต้น
- ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ขาดฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต ขาดฮอร์โมนไทรอยด์ มีฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์เกิน ซึ่งมักพบในกลุ่มเด็กอ้วนและเตี้ยที่มีระดับสติปัญญาปกติ
- ป่วยเป็นโรคหรือกลุ่มอาการจำเพาะ เช่น Prader Willi syndrome, Laurence-Moon-Biedl syndrome และ pseudohypoparathyroidism เป็นต้น โดยโรคหรืออาการจำเพาะเหล่านี้จะพบได้ในเด็กที่อ้วนและเตี้ย ในเด็กกลุ่มนี้มักมีระดับสติปัญญาด้อยกว่าปกติด้วย
- พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิต เช่น รับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความไม่สมดุลในการเผาผลาญจนกลายเป็นไขมันส่วนเกินในเด็ก
การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ในเด็ก
ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ในเด็ก เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินน้ำหนักตัวที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อย โดยคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง ซึ่งเกณฑ์การหา BMI จะสามารถช่วยให้ผู้ปกครองรู้เท่าทันภาวะโรคอ้วนในเด็กของลูกได้ ในขณะเดียวกันแพทย์ก็จะใช้ค่าดังกล่าวไปวินิจฉัยภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือน้ำหนักตัวน้อยในเด็กอีกด้วย
สูตรคำนวณ BMI หาดัชนีมวลกายเด็ก
- น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง
- ตัวอย่างเช่น เด็กชายอายุ 10 ขวบ น้ำหนัก 40 กิโลกรัม ส่วนสูง 140 เซนติเมตร
- BMI = 40 / (1.4^2) = 20.4 kg./m²
หลังจากได้ตัวเลขค่า BMI มาแล้ว ให้นำไปเทียบกับกราฟเปอร์เซ็นไทล์ โดยแยกตามเพศ อายุ และถ้าเทียบแล้วมากกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 85 ก็จะถือว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วนในเด็กนั่นเอง
- กราฟแสดงช่วงเปอร์เซ็นไทล์ของเด็กอายุ 2 –20 ปี เด็กผู้ชาย
- กราฟแสดงช่วงเปอร์เซ็นไทล์ของเด็กอายุ 2 –20 ปี เด็กผู้หญิง
ภาวะแทรกซ้อน จากอาการโรคอ้วนในเด็กที่พบเจอได้
- ระบบหายใจมีปัญหา เช่น นอนกรน ทางเดินหายใจอุดกั้น ซึ่งมีผลทำให้เลือดมีออกซิเจนน้อยขณะหลับ ที่อาจร้ายแรงจนกลายเป็นปัญหาภาวะหัวใจโตได้
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด จากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหาร Fast Food ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง เกิดโรคความดันโลหิตและโรคหัวใจ รวมถึงภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ง่าย
- เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน อาจมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่างกายไม่ตอบสนอง ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายไม่ได้ จนกลายเป็นโรคเรื้อรังที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อตา ไต ระบบประสาท และหัวใจตามมาได้
- ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกมีปัญหาแต่เด็ก ทำให้เคลื่อนไหวเชื่องช้า มีโอกาสบาดเจ็บจากการหกล้มได้มากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวในเกณฑ์ปกติ อาจมีอาการขาโก่ง โรคหัวกระดูกข้อสะโพกเคลื่อน กระดูกหักง่าย และข้อต่อเสื่อมก่อนวัยอันควร
- มีความผิดปกติทางผิวหนัง มีปัญหาผิวหนังหนามีสีคล้ำออกน้ำตาลดำบริเวณคอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ และมีรอยแตกบริเวณหน้าท้อง ต้นขา รวมถึงผื่นแดงจากการเสียดสีร่วมด้วย
- อาจมีปัญหาทางสภาพจิตใจ มีภาวะซึมเศร้า แยกตัวจากสังคมเพราะถูกล้อเลียน และขาดความมั่นใจจนไม่อยากเข้าสังคมได้
แนวทางการรักษาโรคอ้วนในเด็ก
แพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะทำการวินิจฉัยโดยพิจารณาจากการวัดน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็ก และประเมินภาวะสุขภาพร่วมด้วย เพื่อวิเคราะห์ว่าเด็กเป็นโรคอ้วนหรือแค่มีภาวะน้ำหนักเกิน และจะทำการรักษาด้วยการแนะนำอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม รวมถึงกิจกรรมที่ควรทำ และวิธีควบคุมน้ำหนัก โดยจะติดตามผลทุก ๆ 2-6 เดือนแล้วแต่กรณีและดุลยพินิจของแพทย์
วิธีรับมือและป้องกันโรคอ้วนในเด็ก
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นกังวล ไม่อยากให้ลูกต้องเผชิญหน้ากับโรคอ้วนในเด็ก ต้องมารู้ถึงแนวทางการรับมือและป้องกันที่เหมาะสม ดังนี้
- เริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตั้งแต่เกิดจนถึง 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง รวมถึงเติมเต็มจุลินทรีย์ให้เพียงพอ เพื่อปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ และการเผาผลาญให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์
- คุมน้ำหนักและเลือกอาหารตามโภชนาการ ไม่ควรให้ลูกทานตามใจปาก และเลือกอาหารในแต่ละมื้อให้ครบห้าหมู่ ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ที่สำคัญไม่ควรอดมื้อเช้า ลด ละ เลิก ขนมขบเคี้ยวที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และหันไปเลือกขนมเพื่อสุขภาพแทน
- ชวนลูกเล่น ห่างไกลจากการเป็นเด็กอ้วนได้ง่าย ๆ แค่พาลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬา ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30-60 นาที ช่วยเสริมสร้างการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในเด็ก
Tips ! หากลูกถูกล้อเลียนว่าอ้วน ต้องทำยังไงดี ?
หนึ่งในผลกระทบจากการป่วยเป็นโรคอ้วนในเด็ก นั่นคือโอกาสที่จะถูกล้อเลียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ห้ามได้ยากเพราะเกิดจากปัจจัยภายนอก แต่สิ่งที่พ่อแม่จะทำได้ดีที่สุดคือการ “ให้กำลังใจลูก” พร้อมเปิดใจรับฟังสิ่งที่ลูกเจอ และบอกว่าการถูกคนอื่นล้อเลียนไม่ใช่เรื่องน่าอาย และไม่ได้เป็นเรื่องผิด
นอกเหนือจากนี้ยังควรสร้างความมั่นใจให้กับลูก เพื่อให้พวกเขาได้มองเห็นคุณค่าและข้อดีในตนเอง และควรคุยกับลูกถึงวิธีจัดการเมื่อถูกล้อเลียน แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า บอกกล่าวตักเตือนว่าไม่ชอบ หากเพื่อนยังไม่ยอมหยุด ให้แจ้งครูหรือพ่อแม่ช่วยจัดการ
Note: พ่อแม่สร้างวินัยละพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีและมีประโยชน์ได้ ลองชวนลูกทำอาหารด้วยกันเลือกเมนูที่ลูกชื่นชอบ เพื่อปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่ออาหาร ทำให้รู้สึกว่าการกินผัก-ผลไม้เป็นเรื่องสนุกสนาน เมื่อลูกลดน้ำหนักและปรับการกินได้ ควรให้คำชมเชยและให้กำลังใจ
ป้องกันภาวะโรคอ้วนในเด็ก ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับลูกรัก ด้วยการเลือกผลิตภัณฑ์อาหารและขนมเพื่อสุขภาพที่ The Selection ตัวช่วยลดน้ำหนักที่ดีในเด็ก พร้อมเติมเต็มสารอาหารตามโภชนาการไม่ให้ขาด มั่นใจกว่าเพราะผ่านการคัดสรรจากบุคลากรทางแพทย์ว่าสามารถทานได้อย่างปลอดภัย และใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนเมนูจำเจให้น่ารับประทาน เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกรัก หากสนใจสามารถดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์และส่วนลดเพิ่มเติมได้ที่หน้าเว็บไซต์ของเรา
เรียบเรียงข้อมูลจาก
- เรื่อง “เด็กไทยกับนิสัยการกิน” คอลัมน์หน้าต่างวิจัย นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 288
- แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในเด็ก พ.ศ. 2557 ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
- บทความ โรคอ้วนในเด็ก เว็บไซต์ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
- แพทย์หญิงกมลลักษณ์ อนันต์นิธิวุฒิ แพทย์ประจำสาขากุมารเวชทั่วไป รพ.เปาโล สมุทรปราการ
ช้อปสินค้าเพิ่มน้ำนมและบำรุงร่างกายอื่นๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
ดูทั้งหมด
เฉพาะสมาชิก LINE The Selection รับส่วนลด 10% เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ Lavita, BREA, OWA และ Phymon
แบรนด์ จินเซนโนไซด์ โปร
แบรนด์ ซุปไก่สกัด สูตรต้นตำรับ
Fong Fong (ฟอง ฟอง) น้ำเต้าหู้ผสมฟองเต้าหู้สด พาสเจอร์ไรส์ และฟองเต้าหู้แห้งและสด
฿35.00
Butterfly Organic – USDA Organic Milk /Yogurt / Plant Based Milk
฿700.00
De La Lita Healthy Snacks
฿30.00
EIYO (เอโยะ) ไลท์คุกกี้ผลไม้กลูเตนฟรี
฿325.00Original price was: ฿325.00.฿300.00Current price is: ฿300.00.Plantae Complete Plant-Protein Dutch Chocolate
฿1,690.00Original price was: ฿1,690.00.฿1,390.00Current price is: ฿1,390.00.