Growing Together: Green Hospital – Eco-friendly & Net Zero

Green Hospital : Eco-friendly & Net Zero

     เพราะทรัพยากรบนโลกมีอยู่อย่างจำกัด การรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เราทุกคนช่วยโลกให้ดีขึ้นได้

ดังเช่นเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ที่ตั้งใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อม

โดยการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กรจัดทำโครงการ

สร้างองค์ความรู้และสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเสนอไอเดียในการลดมลภาวะต่าง ๆ ให้แก่โลก

ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากเวทีการประกวดนวัตกรรม BDMS Award และ The pPitch Awards

ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านการลงมือทำ

เพื่อนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน สะท้อนแนวคิดการเป็นองค์กรต้นแบบของโรงพยาบาลสีเขียวที่เป็นมิตรต่อโลกอย่างยั่งยืนต่อไป

 

 

Food waste Machine เครื่องกำจัดขยะเศษอาหาร

รางวัล BDMS President Award และ Gold Award หมวด Earth Healthcare

 

เศษอาหารเหลือทิ้งต้องรีบจัดการให้ไว เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค โครงการนี้มีจุดเริ่มต้นจากการที่ต้องการจัดการเศษอาหารให้มากกว่าแค่นำไปทิ้งในหลุมฝังกลบ  โดยใช้ทักษะทางวิศวกรรม ใช้ความรู้นำมาต่อยอดสร้างสรรค์เป็นเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารในการลดความชื้น ทำให้เศษอาหารแห้งขึ้นไปพร้อมกับเทคนิคการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ จนกลายเป็นปุ๋ยโดยนำไปใช้กับต้นไม้บริเวณรอบโรงพยาบาล และส่วนหนึ่งมอบให้แก่เกษตรกรในชุมชนใกล้เคียงซึ่งปุ๋ยที่ผลิตจากโครงการนี้พบว่ามีปริมาณไนโตรเจนสูง ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จากเดิมมากถึง 97%

 

 

WASTE ดีดี

รางวัล Bronze Award จาก The pPitch Awards 2022

การจัดการขยะในโรงพยาบาลถือเป็นเรื่องการบริหารสภาพแวดล้อมที่สำคัญเรื่องหนึ่ง  โครงการนี้ริเริ่มมาจากการเล็งเห็นถึงคุณค่าของกลุ่มขยะประเภท Recycle  ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในการคัดแยกขยะที่ไม่ใช่เพียงการทิ้งแยกถังหรือคัดแยกเพื่อขายต่อ           แต่เป็นการคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้จริง โดยส่งต่อให้แก่ Partner กลุ่มต่าง ๆ นำไป Recycle เพื่อนำกลับมาใช้ในโรงพยาบาลใหม่อีกครั้ง

 

 

โครงการ โภชนาการสีเขียว  

รางวัลชมเชย BDMS Award หมวด Earth Healthcare

 

แต่ละวันโรงพยาบาล มีเศษอาหารเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากปล่อยให้เน่าเสียก็จะเป็นแหล่งกำเนิดก๊าซมีเทน ส่งผลให้โลกร้อนได้                  ด้วยความคิดของหน่วยโภชนาการ โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4  ที่ต้องการจัดการขยะและลดขยะเศษอาหารตั้งแต่ต้นทาง จึงเกิดเป็น         “โครงการโภชนาการสีเขียว” โดยเชิญชวนให้ทุกคนทั้งพนักงานหน่วยโภชนาการ, บุคลากรในองค์กร ผู้ใช้บริการทั่วไป ร่วมมือช่วยกันเริ่มปฏิบัติการด้วยหลัก 3R Reduce-Reuse-Recycle ซึ่งสามารถลดปริมาณขยะได้ถึง 50%  เมื่อเทียบกับก่อนเริ่มโครงการ รวมถึงยังช่วยประหยัดต้นทุนการผลิตอาหารและที่สำคัญที่สุดคือ เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกว่าสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 4,927 กิโลกรัมคาร์บอนไดร์ออกไซต์เทียบเท่า เป้าหมายต่อไปคือการลดขยะอาหารให้เป็น 0 และนำก๊าซมีเทนจากการหมักเศษอาหารมาใช้เป็นก๊าซชีวภาพซึ่งถือเป็นพลังงานสะอาดนำมาใช้ในการผลิตอาหารภายในโรงพยาบาลต่อไป

 

 

โครงการ ระบบเฝ้าติดตามฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยระบบ OIT 

รางวัลชมเชย BDMS Award หมวด Earth Healthcare

ในช่วงปลายปีจนถึงต้นปีที่มักเผชิญกับมลภาวะฝุ่น PM 2.5 จึงเป็นที่มาของไอเดียที่ต้องการ สร้างพื้นที่อากาศบริสุทธิ์ให้แก่ทุกคนภายใน            โรงพยาบาล การสร้างระบบการติดตามและตรวจจับค่าฝุ่นละออง โดยใช้เซ็นเซอร์ของเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่นละออกขนาดเล็ก PM 2.5 และ PM 10 ทุก ๆ 15 วินาที ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ Cloud สามารถแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ แสดงข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศในพื้นที่สำคัญของโรงพยาบาลเช่น หอพักผู้ป่วยใน (IPD) พื้นที่ผู้ป่วยนอก (OPD) และแผนกฉุกเฉิน (ER) ได้แบบ Realtime และสามารถดูย้อนหลังเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวม หากพบว่าพื้นที่ใดมีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน ก็สามารถสั่งระบบกรองอากาศให้ทำงาน เพื่อเพิ่มคุณภาพอากาศให้สะอาดขึ้น ข้อดีคือ ควบคุมระบบปรับอากาศและระบบเครื่องกรองอากาศได้ทันที สามารถปรับและควบคุมระบบได้ตามต้องการ เป้าหมายต่อไปคือการขยายพื้นที่การตรวจวัดค่าฝุ่นละอองให้ครบทุกอาคาร รวมถึงต่อยอดไปส่ารสร้างระบบวัดค่าความชื้น อุณหภูมิ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และค่าอื่น ๆ ตามความต้องการของโรงพยาบาลได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจได้ว่าทุกคนจะได้รับอากาศบริสุทธิ์และปลอดภัยภายใน            โรงพยาบาลอย่างแน่นอน

Growing Together: เจาะใจทุก Gen เพื่อการดูแลให้ตรงจุด

 

 

กุญแจสำคัญในการมีสุขภาพดี คือการดูแลร่างกายให้แข็งแรง การดูแลสุขภาพตนเองในแต่ละช่วงวัยก็มีความแตกต่างกัน

ทั้งการเจริญเติบโต การสร้างเสริมส่วนต่างๆ และความเสื่อมที่อาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต

และสภาพแวดล้อมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราลดโอกาสเจ็บป่วยและโรคเรื้อรัง

คือควรมีความเข้าใจในแต่ละไลฟ์สไตล์เพื่อการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม

และหมั่นสังเกตสัญญาณสุขภาพในแต่ละวัยว่าควรระมัดระวังเกี่ยวกับอะไรบ้าง มาดูกันเลย

 

 

 

เรียบเรียงข้อมูลจาก

  • โรคยอดฮิตที่เกิดกับเด็กวัยเรียน โดย โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง
  • ความเสื่อมของแต่ละช่วงวัย แตกต่างกันอย่างไร โดย สสส.
  • 10 วิธีดูแลผู้สูงอายุให้สุขภาพดีทั้งกาย-ใจ โดย โรงพยาบาลพญาไท 3

ลูกเครียดหนัก เรียนแน่น ความสุขลดลง คงต้องพักก่อน

ลูกเครียด ความรู้สึกกดดันจากการเรียนนี้ ปัจจัยหนึ่งเกิดจากการแข่งขันสูง

ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ไม่อยากให้พ่อแม่รู้ว่ากำลังเครียด จนสุดท้ายอยู่ในระดับรุนแรง

ดังนั้น คนในครอบครัวจะต้องมีความเข้าใจในตัวเขา เพื่อให้เด็กสามารถรับมือและหาทางออกได้อย่างเหมาะสมที่สุด 

 

ควรรับฟังความคิดเห็นของลูก บางครั้งสิ่งที่เขาต้องการอาจไม่ใช่แค่ความสนใจ แต่ต้องการความเข้าใจด้วย ทำให้เขารู้สึกสบายใจ สร้างกำลังใจ ทำให้เขาเชื่อว่ามีทางออกในทุกปัญหา ลองสังเกตว่ามีวิชาไหนที่ไม่ถนัด อาจปรึกษาครูประจำชั้นเพื่อหาเทคนิคที่ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น เมื่อได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง เด็กจะไม่มีทัศนคติเชิงลบกับสิ่งที่ไม่ชอบ ทำให้เรียนได้ดีขึ้นและจะมีความสุขกว่าเดิม

 

ใครๆ ก็อยากให้ลูกเรียนดี กิจกรรมเด่น แต่ความคาดหวังของพ่อแม่ อาจเป็นความกดดันของลูก ไม่ควรตำหนิลูก หากเขาคำนวณเลขไม่เก่ง แต่ควรมองหาความถนัดและความชอบด้านอื่นๆ เพื่อให้เขาค้นพบตัวตนทำให้เขารู้สึกรักและมองเห็นข้อดีในตัวเองและมุ่งไปในเส้นทางนั้นด้วยศักยภาพสูงสุด พ่อแม่มีหน้าที่สนับสนุนเค้าเต็มที่ เพราะเมื่อเขาทำได้ดี สุดท้ายแล้วก็เป็นตัวเราที่จะภูมิใจในตัวเขามากที่สุด

 

พ่อแม่บางคนกลัวลูกเรียนไม่ทันเพื่อน อยากให้เก่งมากกว่าในห้องเรียน   จึงเพิ่มการเรียนพิเศษเสริมในวันหยุดแต่อย่าลืมว่าชีวิตไม่ได้มีแต่สังคม   ในห้องเรียน ควรแบ่งเวลาทำสิ่งอื่นด้วย ลองหากิจกรรมทำร่วมกัน เช่น เล่นเกม ออกไปเที่ยวนอกบ้าน เล่นกีฬา หรือให้เวลาลูกเล่นสนุกกับเพื่อนๆ จะช่วยลดความเครียดจากการเรียน สร้างทักษะการใช้ชีวิต มีทักษะปรับตัวและเอาตัวรอด รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารเชิงบวกกับผู้อื่นอีกด้วย

 

ความเครียดของเด็ก หากปล่อยไว้นาน อาจบั่นทอนสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระยะยาว

คนในครอบครัวต้องเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ทำให้เขารู้สึกว่านอกเหนือจากการเรียนแล้ว

การใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ ต้องมีความยืดหยุ่นด้วย จึงเป็นหน้าที่ของคนในครอบครัวที่จะต้องให้คำแนะนำ

เพื่อให้เขาใช้ชีวิตวัยเด็กได้อย่างมีความสุข

 

 

เสริมสร้างพัฒนาการเด็กให้สมวัย ด้วยของเล่นเสริมทักษะที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน

The Selection คัดมาให้แล้ว! พร้อมส่วนลดพิเศษสำหรับคุณ

คลิกเลย! https://bit.ly/TheSelectionTHToys 

 

ศูนย์สุขภาพเด็กและวัยรุ่น รพ.พญาไท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 1772

 

เรียบเรียงจาก
• บทความ “ลูกมีปัญหาการเรียน…คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้ถ้าเข้าใจ” เว็บไซต์ รพ.พญาไท 3
• บทความ “ปัญหาเด็กเครียด แนะทางออกอย่างถูกวิธี” เว็บไซต์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
• Emotional Intelligence ความฉลาดทางอารมณ์ ทักษะสำคัญที่สุดของผู้นำในศตวรรษที่ 21 by THE SECRET SAUCE

Growing Together: Pyramid of happiness พีระมิดแห่งความสุข เคล็ดลับการเลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ

 

 

Pyramid of happiness พีระมิดแห่งความสุข

เคล็ดลับการเลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ

โดย พญ.ถิรพร ตั้งจิตติพร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ศูนย์สุขภาพเด็ก รพ.พญาไท 3

 

          การเลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จหรือเป็นไปดั่งใจหมายนั้นใช่เรื่องง่าย พ่อแม่ หลายคนอาจทำเรื่องผิดพลาดในการเลี้ยงดูลูก ทั้งอาจเกิดจากความเครียด จากความ ไม่มั่นใจในวิธีการเลี้ยงดู รวมถึงความคาดหวังต่างๆ ทั้งจากตนเองและคนรอบข้าง แต่เราเชื่อว่าในทุกครอบครัวจะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือการมีความรักและความปรารถนาดีที่อยากให้ลูกเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และอยู่รอดในสังคม จนบางครั้งอาจทำให้หลงลืมถึงความสุขที่ควราะเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานในชีวิตและการเป็นครอบครัว เป็นรากฐานของการเป็นคนเก่ง และช่วยให้ลูกสามารถเอาตัวรอดได้ในอนาคต 

 

รากฐานความสุขของเด็กๆ

The pyramid of happiness หรือพีรมิดของความสุข
มีรากฐานสำคัญคือความรัก ความปลอดภัย และความสนุกสนาน
เมื่อเด็กๆ มีสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นฐานที่ดีที่ทำให้เด็กๆมีสุขภาพและสมองที่แข็งแรง
มีประสาทสัมผัสที่พร้อมรับการเรียนรู้ การฝึกฝนทักษะต่างๆ ที่สำคัญนอกจากการเรียนหนังสือ

เมื่อเด็กมีรากฐานเหล่านี้ที่เข้มแข็ง ก็จะเกิดความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการแก้ไข

และจัดการปัญหาต่างๆ ได้ รู้สึกสนุกสนาน สมองจะมีการตื่นตัว มีการเปิดรับ ทำให้ร่างกายอยู่กับสิ่งนั้นๆ ได้ดีขึ้น

 

แนวทางสู่ความสำเร็จ

สิ่งสำคัญที่เด็กๆ ต้องทำเมื่ออยู่ในวัยเรียน (อายุ 6 ปีขึ้นไป) ก็คือการเรียนให้ได้ผลดี ซึ่งเคล็ดลับความสำเร็จในการเรียนไปจนถึงในเรื่องงาน       เมื่อพวกเขาโตขึ้น นั่นก็คือ หลักอิทธิบาท 4 ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ลึกลงไป หลักทางพุทธศาสนาก็สอดคล้องกับ pyramid of happiness หรือพีระมิดแห่งความสุข 

 

 

 

1. การบ้าน คือ “งานของลูก” ไม่ใช่งานของพ่อแม่ ลูกต้องเป็นคนทำ เพื่อทบทวนฝึกความรับผิดชอบฝึกความอดทนเมื่อเจองานยาก           และฝึกการแก้ปัญหา
2. ไม่มีงานที่เพอร์เฟกต์  คือไม่จำเป็นต้องตรวจการบ้านลูกว่าถูกหรือผิด เพราะนั่นเป็นหน้าที่ เป็น “งานของครู” ถ้าเราแก้การบ้านให้ลูก         จนลูกทำถูกหมด จะไม่รู้เลยว่าลูกเข้าใจตรงไหนบ้าง
3. งานหรือหน้าที่ของพ่อแม่มีสองอย่าง คือ

ㆍดูว่าลูกได้ทำการบ้านตามที่ได้รับมอบหมายหรือไม่
ㆍฝึกทักษะอื่นๆ ให้ลูกมี ก่อนที่จะไปโรงเรียน คือ สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น มีความอดทนพยายาม ความรับผิดชอบ สมาธิ การแก้ปัญหา การผ่อนกลายเมื่อมีความเครียด

 

ศูนย์สุขภาพเด็ก ชั้น 4 รพ.พญาไท 3
โทร. 0-2467-1111 ต่อ 3419 และ 3420

Growing Together : หน้าที่สำคัญของ จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ในนมแม่

 
 
 

หน้าที่สำคัญของจุลินทรีย์ “โพรไบโอติกส์” ในนมแม่

รู้หรือไม่ว่าในน้ำนมแม่ มีจุลินทรีย์มีประโยชน์

โพรไบโอติกส์อยู่ ซึ่งช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน  ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และสมองให้ดีขึ้นสำหรับลูกน้อยด้วย

 

 

โพรไบโอติกส์ในนมแม่ ดีกับลูกน้อยอย่างไร

เมื่อแรกลืมตาดูโลก ทารกทุกคนล้วนต้องการจุลินทรีย์เพื่อค่อยๆ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง โดยทารกที่คลอดธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์กลุ่มแรก      จากช่องคลอดของมารดา จากนั้นร่างกายเค้าก็จะได้รู้จักกับจุลินทรีย์ต่างๆ เพิ่มขึ้นจากการได้รับนมแม่ จนไปถึงอาหารเสริมตามวัยหลัง 6 เดือน นมเสริมตามวัยสำหรับเด็กอายุ 1 ปี รวมทั้งมื้ออาหารที่รับประทานเมื่อค่อยๆ เติบโตขึ้น ที่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการตามช่วงวัยที่เหมาะสม

 

 

บทบาทที่สำคัญของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (ร่วมกับพรีไบโอติกส์) จากนมแม่ต่อลูกน้อย

• การเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในระบบทางเดินอาหาร และเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยระบบทางเดินอาหารนั้นจัดว่าเป็นระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุด เพราะเป็นเสมือนด่านหน้าที่รับสารต่างๆ จากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย (ในรูปของอาหาร)

• การสร้างสภาวะให้ระบบทางเดินอาหารมีปริมาณของจุลินทรีย์ที่สมดุลในทารกจึงช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ ได้ ช่วยต่อต้านเชื้อก่อโรค บรรเทาอาการท้องผูก ท้องเสีย เพิ่มการสร้างสารที่ช่วยลดการอักเสบและสารช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

• มีการศึกษาที่พบว่าโพรไบโอติกส์ที่พบในนมแม่ อาจเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ในทารกอีกด้วย1,2,3

 

 

 

ตัวอย่างโพรไบโอติกส์ในนมแม่ที่พบว่ามีประโยชน์ต่อลูกน้อย ก็เช่นจุลินทรีย์ในกลุ่ม     แลคโตบาซิลลัสอย่าง LPR ซึ่งเป็นจุลินทรีย์สายพันธ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะมีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุด ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์ต่อระบบ      ภูมิคุ้มกันแล้ว ยังมีการศึกษาพบว่า LPR มีผลดีต่อระบบทางเดินหายใจของเด็ก      (ศึกษาในเด็กอายุ 1-7 ปี) โดยช่วยลดการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคหวัด น้ำมูกไหล ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กที่เริ่มเข้าโรงเรียน นอกจากนั้นยังมีการศึกษา  พบว่าจุลินทรีย์กลุ่มดังกล่าวอาจมีผลดีต่อการทำงานของสมองผ่านการมีส่วนร่วม          ในการสร้างสารสื่อประสาทในสมองอีกด้วย9,10

 

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของนมแม่ ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งของอาหารให้ลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวสร้างเกราะป้องกันให้เค้ามีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ลูกควรได้รับนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรได้รับนมแม่ต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)6 เพื่อให้ลูกน้อย  ยังคงได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์จากนมแม่อยู่ค่ะ

 

เอกสารอ้างอิง
1. Sepehri, S., Khafipour, E., & Azad, M. B. (2018). The Prebiotic and Probiotic Properties of Human Milk: Implications for Infant Immune Development and Pediatric Asthma. Frontiers in pediatrics, 6, 197. https://doi.org/10.3389/fped.2018.00197
2. Lara-Villoslada, F., Olivares, M., Sierra, S., Miguel Rodríguez, J., Boza, J., & Xaus, J. (2007). Beneficial effects of probiotic bacteria isolated from breast milk. British Journal of Nutrition, 98(S1), S96-S100. doi:10.1017/S0007114507832910
3. Sestito, S., D’Auria, E., Baldassarre, M. E., Salvatore, S., Tallarico, V., Stefanelli, E., Tarsitano, F., Concolino, D., & Pensabene, L. (2020). The Role of Prebiotics and Probiotics in Prevention of Allergic Diseases in Infants. Frontiers in pediatrics, 8, 583946. https://doi.org/10.3389/fped.2020.583946 Moossavi, S., Miliku, K.,
4. Hojsak, I., Snovak, N., Abdovic, S., Szajewska, H., Mišak, Z., & Kolaček, S. (2010). Lactobacillus GG in the prevention of gastrointestinal and respiratory tract infections in children who attend day care centers: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Clinical nutrition, 29 3, 312-6.
5. Strandwitz P. (2018). Neurotransmitter modulation by the gut microbiota. Brain research, 1693(Pt B), 128–133. https://doi.org/10.1016/j.brainres.2018.03.015
6. World Health Organization. (2021). infant and young child feeding. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/infant-and-young-child-feeding
7. Davani-Davari, D., Negahdaripour, M., Karimzadeh, I., Seifan, M., Mohkam, M., Masoumi, S. J., Berenjian, A., & Ghasemi, Y. (2019). Prebiotics: Definition, Types, Sources, Mechanisms, and Clinical Applications. Foods (Basel, Switzerland), 8(3), 92. https://doi.org/10.3390/foods8030092
8. The National Center for Complementary and Integrative Health. (2019). Probiotics: What You Need To Know. Retrieved from https://www.nccih.nih.gov/health/probiotics-what-you-need-to-know
9. Mayer EA, et al. Nat Rev Neurosci. 2011 Jul13;12(8): 453-66.
10. Van Oudenhove L, et al. Best Pract Res Clin Gastroenterol. 2004 Aug; 18(4):663-80.

 

 

 

 

 

 

Growing Together : LPR โพรไบโอติกที่มีผลวิจัยรองรับมากที่สุด เพื่อความแข็งแกร่งของเด็กยุค 5G

 

 

Growing Together

LPR โพรไบโอติกที่มีผลวิจัยรองรับมากที่สุดเพื่อความแข็งแกร่งของเด็กยุค 5G

ตรวจสอบข้อมูลโดย ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์

 

ยุคนี้แม่ต้องรู้จักโพรไบโอติกส์…จุลินทรีย์ดีที่ต้องมี

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้เป็นยุคของความแข็งแกร่ง เพราะด้วยสารพัดเชื้อโรคใหม่ๆที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้กระแสของการดูแลสุขภาพได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแม่ๆที่ต้องดูแลลูกและคนในครอบครัว      สิ่งหนึ่งที่กำลังอยู่ในกระแสความสนใจและเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วคือ การใช้โพรไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์ดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งจริงๆ แล้วในวงการแพทย์รู้จักจุลินทรีย์ดีเหล่านี้มานานแล้ว เพราะมีการศึกษาวิจัยมาอย่างยาวนาน  หลายสิบปี ในหลายสายพันธุ์ ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยปรับพื้นฐานความสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ความสามารถ ของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน มีส่วนช่วยในระบบขับถ่าย และยังมีส่วนช่วยเสริมการทำงานของสมอง ซึ่งประโยชน์เหล่านี้จะส่งผลให้ร่างกายแข็งแกร่ง  แต่สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่มเติมคือเรื่องของสายพันธุ์ เพราะมีโพรไบโอติกส์หลากหลายสายพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นต่างกัน สายพันธุ์ที่อยากจะหยิบยกมาเขียนบทความในวันนี้คือ โพรไบโอติก LPR เพราะเป็นสายพันธุ์ที่กำลังดังในตอนนี้ เนื่องด้วยเป็นสายพันธุ์ที่มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุดมีการศึกษามายาวนานกว่า 30 ปี และมีคุณสมบัติที่น่าสนใจเหมาะกับการดูแลเด็กๆ ในยุคนี้

 

5 คุณประโยชน์ ของ โพรไบโอติก LPR…เพื่อฮีโร่คนเก่งยุค 5G

LPR  คือ โพรไบโอติก ซึ่งก็คือจุลินทรีย์ดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบได้ในนมแม่ นอกเหนือจากสารอาหารอื่น ๆ ที่มีมากกว่า 200 ชนิด เช่น แคลเซียม วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ และ DHA  ที่แม่ทราบกันดีอยู่แล้ว  โดย LPR ยังสามารถพบได้ในโยเกิร์ต นมเปรี้ยวและนมบางชนิดอีกด้วย จากงานวิจัยต่างๆที่ตีพิมพ์ในวารสาร               ทางการแพทย์ พอจะสรุปได้ถึงคุณประโยชน์ที่โดดเด่นของ LPR ได้

 

 

 

5 คุณประโยชน์* ของ โพรไบโอติก LPR

 

ช่วยปกป้องทางเดินหายใจ ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจลงได้ร้อยละ 37

 

 

 

ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างแอนติบอดี้ ชนิด IgM, IgA, IgG

 

 

 

ช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลำไส้ ช่วยให้ดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น

 

 

 

ช่วยเรื่องการขับถ่าย ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร จึงมีส่วนช่วยในการขับถ่าย

 

 

 

ช่วยเสริมการทำงานของสมอง มีส่วนร่วมในการสร้างสารสื่อประสาท ช่วยเพิ่มศักยภาพสมองด้านกระบวนการทางสติปัญญา (cognitive performance)

 

 

จากบทสรุปข้างต้นจะเห็นได้ว่า โพรไบโอติก LPR มีความน่าสนใจในเรื่องคุณประโยชน์ ที่มีผลต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร ภูมิคุ้มกัน และความแข็งแกร่งของร่างกายโดยรวม ซึ่งส่งผลพัฒนาการของลูกในระยะยาว

 

*เอกสารอ้างอิง

  1. Hojsak I, et al. Clin Nutr. 2010 Jun;29(3):312-6.
  2. Rinne M, et al. J Pediatr 2005; 147(2): 186–91.
  3. Flach J, et al. Cogent Food & Agriculture Volume 4, 2018 – Issue 1
  4. Wang G, et al. Front Cell Infect Microbiol. 2020; 10: 423.

 

Growing Togther : เสริมภูมิคุ้มกัน สร้างความแกร่งให้ลูกรัก ต้องรู้จัก LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติก

Growing Together

เสริมภูมิคุ้มกัน สร้างความแกร่งให้ลูกรัก ต้องรู้จัก LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติก

ในปัจจุบันโพรไบโอติกกำลังได้รับความสนใจอย่างสูงเนื่องด้วยความตื่นตัวของกระแสการดูแลสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับพื้นฐานของระบบทางเดินอาหาร และระบบย่อยอาหารที่ดี ที่เป็นกุญแจสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน และการมีร่างกายที่แข็งแรง เพื่อพร้อมรับมือกับเชื้อโรคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น จุลินทรีย์ LPR เป็นหนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่กำลังได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมาก

LPR คือหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบในนมแม่ โยเกิร์ตและนมบางชนิด ที่น่าสนใจก็คือ จุลินทรีย์ LPR มีงานวิจัยในหลากหลายด้าน ที่หยิบยกมาวันนี้ก็คือเรื่องของงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในเด็กซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในยุคนี้มาก เนื่องด้วยปัจจุบันเด็กต้องเผชิญกับเชื้อไวรัสที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง

 

 

 

 

ปกป้องทางเดินหายใจในเด็ก (ศึกษาในเด็กอายุ 1–7 ปี)

LPR จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้เด็กมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และเมื่อเด็กไม่เจ็บป่วย สมองก็พร้อมเรียนรู้ในทุกๆ วัน เด็กยุคนี้ต้องสตรอง ร่างกายแข็งแกร่งมีความเก่งเฉพาะตัวที่ช่วยให้พร้อมสู่โลกอนาคต

 

 

 

 

LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายสตรอง ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นอย่างหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่าจุลินทรีย์ก่อโรคเป็นสิ่งที่มีผลดีต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร และภูมิคุ้มกันความแข็งแรงของร่างกายโดยรวม รวมถึงพัฒนาการของลูกในระยะยาว มีงานวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์ LPR และการปกป้องระบบทางเดินหายใจในเด็กอายุ 1–7 ปี ว่าช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในทาวเดินหายใจส่วนบนได้ถึง 37%

 

LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติก มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุด

ในปัจจุบัน LPR เป็นหนึ่งในสารอาหารที่กำลังได้รับความสนใจ โดยในวงการผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทย และสมาคมผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ทั้งใน ยุโรป อเมริกา อเมริกาใต้ ที่น่าสนใจคือ LPR จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดนี้ มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุด และ มีการศึกษาในด้านคุณประโยชน์มาต่อเนื่องกว่า 30 ปี

 

 

นอกจาก LPR จุลินทรีย์โพรไบโอติกจะช่วยลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจแล้ว โพรไบโอติกยังช่วยส่งเสริมการย่อยอาหารและการขับถ่ายที่เป็นปกติ การมีสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีช่วยส่งเสริมสุขภาพของระบบย่อยอาหารและทางเดินอาหารให้มีสุขภาพแข็งแรง ย่อมส่งเสริมสุขภาพองค์รวมให้แข็งแรง คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจเรื่องโภชนาการของลูก ส่งเสริมให้ลูกได้รับ LPR ซึ่งเป็นหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบในนมแม่ โยเกิร์ต และนมบางชนิดเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับลูก

 

Growing Together : LPR เคล็ดลับของความแกร่ง สู่ความเก่งที่พัฒนาได้เต็มศักยภาพ

Growing Together

ทำความรู้จัก LPR เคล็ดลับแห่งความฉลาด
ของลูกน้อย เติบโตแข็งแรงสมวัย เรียนรู้ได้เต็มที่

   เคล็ดลับของความแกร่ง สู่ความเก่งที่พัฒนาได้เต็มศักยภาพ

ตรวจสอบข้อมูลโดย ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ กุมารเวชศาสตร์ โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน  ศูนย์สุขภาพเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลพญาไท 2

 

LPR คือ จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ เสริมความแข็งแกร่ง…จึงเก่งได้อย่างใจฝัน

         LPR ดีต่อระบบทางเดินอาหาร เพราะ LPR คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบได้ในนมแม่ จากสารอาหารในนมแม่ที่มีมากกว่า 200 ชนิด เช่น แคลเซียม วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ และ DHA ที่แม่ทราบกันดีอยู่แล้ว LPR ยังสามารถพบได้ในโยเกิร์ต นมเปรี้ยว และนมบางชนิดอีกด้วย โพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ตามธรรมชาติในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่าจุลินทรีย์ก่อโรคเป็นสิ่งที่มีผลดีต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร ภูมิคุ้มกัน ความแข็งแรงของร่างกายโดยรวม  รวมถึงพัฒนาการของลูกในระยะยาว

 

                      ผลการศึกษาทางเดินหายใจ(เด็กอายุ 1-7 ปี)

 

 

LPR ก็คือ จุลินทรีย์ที่พบได้ในลำไส้ของเด็กที่ได้รับ นมแม่ ช่วยปกป้องเยื่อบุลำไส้          ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อทางเดินหายใจให้ลดลงได้      ร้อยละ 37 ระบบทางเดินอาหารก็ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่ ระบบภูมิคุ้มกันก็แข็งแกร่ง ร่างกายก็เติบโต แข็งแรงสมวัย

 

 

 

ระบบทางเดินอาหารกับสมองทำงานเกี่ยวข้องกัน

สมองและทางเดินอาหาร มีการสื่อสารกัน โดยในปัจจุบันมีงานวิจัยสนับสนุนว่า                  จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างทางเดินอาหาร                    และพัฒนาการทางสมอง

 

 

 

 

 

LPR มีส่วนช่วยเสริมการทำงานของสมอง

    LPR เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่ม Lactobacillus ซึ่งมีผลการศึกษาว่าจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีส่วนร่วม     ในการสร้างสารสื่อประสาทในสมอง นอกจากนั้น เมื่อร่างกายแข็งแกร่ง พร้อมเรียนรู้    พัฒนาการทางสมองก็เกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาสิ่งที่ชอบและเก่ง         ได้อย่างใจฝัน เพราะแน่นอนว่า เมื่อร่างกายแข็งแกร่ง สมองก็สามารถพัฒนาได้เต็มที่ตามวัยไม่มีสะดุด เสริมความสตรองของเด็กยุคนี้…ให้แกร่งและเก่งได้เต็มศักยภาพ

 

 

มีส่วนร่วมในการสร้างสารสื่อประสาท

  • ย่อย Tryptophan ได้สารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท เช่น serotonin
  • เปลี่ยนกลูตาเมทให้กลายเป็นสารสื่อประสาท GABA
  • มีผลต่อสารสื่อประสาท เช่น serotonin และ GABA
  • มีผลต่อการทำงานของ GABA ต่อ receptors

 

ข้อมูลน่ารู้อื่นๆ เกี่ยวกับจุลินทรีย์ LPR

ในปัจจุบันจุลินทรีย์ LPR กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยคุณค่าทางด้านสุขภาพของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่มีงานวิจัยรองรับว่าช่วยในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันมากที่สุด จุลินทรีย์ LPR ที่พบในนมแม่ โยเกิร์ต และนมบางชนิด เป็นหนึ่งในสารอาหารที่กำลังได้รับความสนใจ โดยในวงการผู้เชี่ยวชาญ

ในประเทศไทย และสมาคมผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ทั้งใน ยุโรป อเมริกา รวมทั้งมีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุด และมีการศึกษาในด้านคุณประโยชน์มาต่อเนื่องกว่า 30 ปี